หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

"31 ตุลาคม" ฤกษ์ดีที่จะเริ่มต้นร่ำรวยอมตะนิรันดร์กาล


31 ตุลาคม เป็นวันอะไร ? คำตอบส่วนใหญ่ที่ได้รับน่าจะเป็น วันฮัลโลวีนหรือวันปล่อยผีของฝรั่ง แต่หลายคนคงไม่ทราบว่า เมืองไทย วันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี เป็น "วันออมแห่งชาติ" ด้วย

คณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีวันออมแห่งชาติมาตั้งแต่ปี 2541 จุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้คนไทยรักและตระหนักถึงความสำคัญของการออมเงิน เพื่ออนาคตที่มั่นคง

นอกจากการ "หาเงิน" ให้มากแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่าคือ "การออม" เพื่อรักษาเงินที่ได้มา ทำให้มีชีวิตที่มั่นคง สามารถเอาไปใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือวัยเกษียณที่ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ อีกทั้งยังเป็นการฝึกทักษะการบริหารจัดการเงินอีกด้วย

ว่ากันว่า คนรวยไม่ใช่คนมีเงินเดือนสูงๆ หารายได้มากๆ แต่เป็นคนที่เก็บออมเงินได้มากกว่า (ส่วนใหญ่ประมาณสิบเปอร์เซนต์ของเงินเดือนเป็นอย่างน้อย) เราคงเคยพบคนเงินเดือนหลายหมื่นแตะหลักแสน ขับรถราคาแพง มีไลฟ์สไตล์หรูหราฟู่ฟ่า แต่แบกหนี้สินไว้เพียบ ไม่มีแม้กระทั่งเงินฝากธนาคาร ลงแบบนี้ถ้าชีวิตมีเรื่องวิกฤต คงต้องขายบ้านขายรถมาใช้จ่าย

ใครมีเงินออมเยอะว่าเยี่ยมแล้ว แต่ที่เยี่ยมกว่าคือ "นำเงินเก็บไปเพิ่มมูลค่า" ที่มากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ วิธีบริหารจัดการเงินเก็บมีมากมายทั้งปลอดภัยหรือความเสี่ยงต่ำเช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นหู้บริษัทเอกชน กองทุนรวมตลาดเงิน ทองคำแท่ง ทองรูปพรรณ และความเสี่ยงสูงแต่ก็ได้ลุ้นผลตอบแทนที่สูงเช่นกันอย่าง ลงทุนในตลาดหุ้น ลงทุนใน TFEX (ตลาดซื้อชายอนุพันธ์ล่วงหน้า) กองทุนรวมหุ้น กองทุนรวมในทรัพย์สินทางเลือก เช่น ทองคำ น้ำมัน หรืออสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

การนำเงินเก็บไปบริหารจัดการในรูปแบบของการลงทุน เริ่มเป็นที่สนใจของคนไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สังเกตุได้จากการเผยแพร่แนวคิดมุมมองผ่านรายการทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออินเตอร์เน็ต คอร์สอบรมสัมมนา ฯลฯ ผู้สนใจเรื่องลงทุนไม่ได้มีเพียงผู้มีรายได้สูงหรือฐานะปานกลางระดับบวก แต่รวมถึงหนุ่มสาวที่เพิ่งทำงานใหม่ๆ รายรับน้อย แม้กระทั่งวัยรุ่นที่ยังเรียนหนังสือยังสนใจลงทุน ซึ่งนับเป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับอนาคตของชาติที่จะได้พ้นจากภาพลักษณ์ "จน เครียด กินเหล้า" ที่นำมาล้อเลียนกัน

"การลงทุน" เป็นวิธีหารายได้แบบ Passive Income คือ เงินงอกเงยโดยไม่ต้องทำงานประจำ ต่างกับ Active Income ซึ่งต้องทำงานถึงมีเงิน งานหยุดเงินหยุด ใครสนใจวิธีหารายได้สองแบบนี้ สามารถอ่านได้จากหนังสือ "เงินสี่ด้าน" เขียนโดย โรเบิร์ต คิโยซากิ เจ้าของหนังสือซีรี่ส์ดัง "พ่อรวยสอนลูก" (Rich Dad Poor Dad)

นอกจากลงทุนแล้ว อีกวิธีหนึ่งที่จะมีรายได้แบบ Passive คือ "เจ้าของธุรกิจ" ซึ่งคิโยซากิได้แจกแจงเส้นทางที่จะมีกิจการของตัวเองไว้ 3 แบบ คือ (หนึ่ง) การสร้างบริษัทใหญ่ๆเช่น เดลล์คอมพิวเตอร์ หรือฮิวเลตต์แพคคาร์ด ซึ่งเริ่มต้นในหอพักนักศึกษาและในโรงรถ , (สอง) การซื้อระบบแฟรนไชส์มาบริหารอย่างแม็คโดนัลด์ และ (สาม) การลงทุนในธุรกิจเครือข่ายหรือเอ็มแอลเอ็ม

สองแบบแรกต้องอาศัยเงินลงทุนก้อนโต ต้องใช้ทักษะความรู้ความสามารถประสบการณ์ทางธุรกิจ การตลาด การบริหาร การเงิน ฯลฯ ต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจ ต้องกระโดดลงไปทำธุรกิจช่วงเริ่มต้นอย่างเต็มเวลา และเต็มไปด้วยความเสี่ยง อาจต้องเผชิญหน้ากับความเจ็บปวดความทุกข์ ขณะที่ธุรกิจเครือข่าย เราสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ด้วยเงินลงทุนต่ำ ความเสี่ยงน้อย ทำงานหนักระยะเวลาหนึ่งก็สามารถเกษียณ แต่มีรายรับเข้ามาเรื่อยๆ และที่สำคัญ สามารถทำงานประจำต่อไปได้อีกด้วย

ถ้าสนใจนำเงินเก็บไปบริหารจัดการด้วยธุรกิจเครือข่าย คิโยซากิได้เขียนหัวข้อนี้ออกมาหนึ่งเล่มเต็มๆชื่อ "โรงเรียนสอนธุรกิจ สำหรับคนที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น" (Rich Dad's the Business School for People who Like Helping People) หนาประมาณสองร้อยหน้า หรืออาจได้จากบล็อกของผมคือ http://tapanaone.blogspot.com

ขอให้วันนี้ วันที่ 31 ตุลาคม เป็นวันเริ่มต้นสู่ความร่ำรวยแบบถาวร มีอิสรภาพทางการเงิน ใช้ชีวิตแบบเลือกได้ ของผู้อ่านทุกท่านครับ ^__^

"เอ็กซ์" ฐปน วันชูเพลา (ผู้เขียน)

ร่วมเรียนรู้เพื่อ "เปิดโอกาสใหม่ๆให้กับชีวิตhttp://www.elite-powerteam.com/tapana


เพื่อมอบกำลังใจอันยิ่งใหญ่ให้กับผู้เขียน ^__^
ถ้าชอบกด Like ถ้าใช่กด Share ถ้าทั้งชอบทั้งใช่ กรุณากดทั้ง Like ทั้ง Share ได้เลยครับ อย่าได้เกรงใจ

ช่องทางติดต่อผู้เขียน …
อีเมล์  tapanaone@gmail.com
เฟซบุ๊ค  https://www.facebook.com/tapana.jcteam
แฟนเพจ  https://www.facebook.com/MLM.MoneyLovesMe
แบ่งปันมุมมอง ประสบการณ์ และโอกาสดี ๆ  http://tapanaone.blogspot.com และ http://www.bangsaensook.com/Business

วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ธุรกิจเครือข่ายเป็นพระเอกหรือผู้ร้ายกันแน่

คุ้นเคยใช่ไหมครับกับโพสต์บนเฟซบุ๊คเชื้อเชิญให้ทำธุรกิจเครือข่าย..ทำงานเดือนเดียวได้หลักพัน หกเดือนได้หลักหมื่น ปีกว่าๆได้หลักแสน ห้าปีรับหลักล้าน แถมได้เที่ยวรอบโลก จ่ายจริง รับจริง เกษียณได้ไม่ต้องรออายุหกสิบ เลิกทำงานแต่รายได้ยังไม่หยุด ฯลฯ ก็เพราะโฆษณาที่ให้ความรู้สึกเหมือนเงินได้มาง่ายๆแบบนี้เอง (แม้ทำจริงได้จริงๆ) ภาพธุรกิจเครือข่ายจึงออกสีเทาๆ โดนมองในแง่ลบ

แต่ความจริงแล้ว ธุรกิจการตลาดแบบเครือข่าย (Network Marketing Business) หรือ เอ็มแอลเอ็ม (Multi-Level Marketing) เป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับในหลายประเทศ รวมถึงชาติใหญ่ๆในโลกธุรกิจ ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการในปี 2555 ทั่วโลกมีนักธุรกิจเครือข่ายราว 91.5 ล้านคน หรือประมาณหนึ่งเปอร์เซนต์ของประชากรโลก (เจ็ดพันล้านคน) พวกเขาช่วยกันสร้างยอดขายมหาศาลถึง 1.6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 4.8 ล้านล้านบาท

สหรัฐอเมริกามีตลาดเอ็มแอลเอ็มใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก คิดเป็นสัดส่วนยี่สิบเปอร์เซนต์ของทั้งโลก ตามด้วยญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ และบราซิล ถ้าพิจารณาระดับทวีป นักธุรกิจครือข่ายชุมนุมอยู่ในเอเชียมากที่สุดคือ 52 ล้านคน อเมริกาเหนือรองลงมา 16.3 ล้านคน ขณะที่แอฟริกาใต้น้อยที่สุดยังมีถึง 1.4 ล้านคน

เมืองไทย ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการอยู่ที่ 5.4 ล้านคน หรือประมาณ 8.1 เปอร์เซนต์ของฐานประชากร (67 ล้านคน) สามารถสร้างยอดขายรวมกันได้ถึง 8.3 หมื่นล้านบาท แถมแต่ละปียังมีอัตราเติบโตราว 5-7 เปอร์เซนต์ เอ็มแอลเอ็มจึงเป็นธุรกิจและอาชีพที่มีอนาคตสดใสทีเดียว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เพื่อนบ้านจะเข้ามาทำอาชีพนักขายอย่างถูกกฎหมายมากมายเช่น บริษัทซูเลียนมีชาวพม่ามากเป็นอันดับหนึ่งประมาณ 5,000 คน ทำยอดขายหลายสิบล้านบาทต่อเดือน ขณะที่งานบรรยายเปิดโอกาสทางธุรกิจหรือ OPP ของค่ายใหญ่ๆอย่าง จอยแอนด์คอยน์, คังเซน-เคนโก, ยูนิซิตี้, นีโอไลฟ์, กิฟฟารีน ต่างมีชาวพม่า ลาว และกัมพูชา เป็นจำนวนมากเดินทางไกลๆเข้ามานั่งฟังโอกาสทำเงินและพัฒนาคุณภาพชีวิต

มีการมองอนาคตของธุรกิจเครือข่ายในปี 2558 ยุคเออีซี (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน) ซึ่งสิบประเทศในกลุ่มมีประชากรรวมกันกว่า 600 ล้านคน ว่า ยอดขายในไทยอาจทะลุหลักแสนล้านต่อปีทีเดียว เพราะช่วงสิบปีที่ผ่านมา บางบริษัทได้ปูพื้นรุกเข้าไปเปิดตลาดลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนามแล้ว ไม่นับการซื้อขายบริเวณชายแดน จึงเชื่อได้ว่า เออีซีจะทำให้วงการเอ็มแอลเอ็มเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ นับเป็นเป็นรถด่วนสายธุรกิจที่น่าร่วมเดินทางไปด้วยมาก

เพราะอะไร คนทั่วโลกจึงหันมาทำธุรกิจเครือข่ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถูกยกให้เป็น "อาชีพแห่งอนาคต"

ถ้าให้ตอบแบบสั้นๆ ก็เพราะเอ็มแอลเอ็มช่วยให้คุณมีธุรกิจของตัวเองโดยลงทุนต่ำ เสี่ยงน้อย ทำงานประจำต่อไปได้ ใช้เวลาเร็วที่จะคืนทุน และมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องถึงขั้นเกษียณหลังจากทำไม่กี่ปี

โรเบิร์ต คิโยซากิ เจ้าของหนังสือซีรี่ส์ดัง "พ่อรวยสอนลูก" ได้จัดธุรกิจเครือข่ายไว้ในกลุ่ม Business ซึ่งมีรายได้แบบ Passive Income ไม่ใช่กลุ่ม Small Business ในฝั่ง Active Income คิโยซากิถึงขนาดเขียนเรื่องธุรกิจเครือข่ายเป็นเล่มเดียวโดดๆชื่อ "โรงเรียนสอนธุรกิจ สำหรับคนที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น" (Rich Dad's the Business School for People who Like Helping People) หนาประมาณสองร้อยหน้า

คิโยซากิแนะนำชักชวนให้ผู้คนทำธุรกิจเครือข่ายทั้งที่ตัวเองไม่ได้ร่ำรวยขึ้นมาจากธุรกิจนี้ ว่ากันตามจริงเมื่อปี 1970 ช่วงที่เขากำลังก่อร่างสร้างตัว ทำทั้งงานประจำและธุรกิจส่วนตัว เพื่อนเคยชักชวนเขาให้เข้ามาทำธุรกิจดังกล่าว แต่เขาก็ไม่ได้สนใจและไม่ได้คิดถึงธุรกิจเครือข่ายอีกเลยจนกระทั่งอีกสิบห้าปีต่อมา

คิโยซากิ กล่าวว่า "ทำงานให้ร่ำรวยไม่ได้ทำกันง่ายๆ กว่าผมจะเรียนรู้และได้ประสบการณ์จนสร้างธุรกิจสำเร็จขนาดนี้ ต้องใช้เวลามากกว่าสามสิบปี ต้องพบกับความล้มเหลวสองครั้ง แต่ธุรกิจเครือข่ายจะมอบ 'ระบบธุรกิจสำเร็จรูป' ให้กับคนที่ต้องการควบคุมอนาคตทางการเงินของตัวเอง"

กุญแจดอกสำคัญคือ "เครือข่าย" ... หลายคนใช้ประโยชน์จากพลังของเครือข่าย บางคนพึ่งพามันโดยไม่รู้สึกตัว บางคนรู้จักมันในชื่อ Connection บางคนลงเรียนหลักสูตรเพื่อสร้างคอนเน็คชั่นหรือสายสัมพันธ์ แฟรนไชน์อย่างร้านสะดวกซื้อเลข 7 ประสบความสำเร็จด้วยเน็ตเวิร์ค เครือข่ายโทรศัพท์มือถือนี่ก็ใช่

"พ่อรวย" เคยพูดกับคิโยซากิ ว่า "คนรวยมองหาวิธีสร้างเครือข่าย ขณะที่คนทั่วไปมองหางานทำ" ส่วนคิโยซากิเองก็บอกว่า "หลายบริษัทในอุตสหกรรมการตลาดแบบเครือข่าย พยายามเลี่ยงที่จะใช้คำว่า 'การตลาดแบบเครือข่าย' เพราะให้ความหมายไปในทางลบ แต่ 'เครือข่าย" นี่แหละเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จทางด้านการเงินอย่างแท้จริง"

เป็นอันรับประกันได้ว่า "พลังเน็ตเวิร์ค" พลักดันให้นักธุรกิจเครือข่ายรวยจริงรวยถาวรตามโฆษณาย่อหน้าแรกแน่นอน ขอเพียงเลือกทำกับบริษัทที่มีธรรมาภิบาล ทุ่มเททำงานเต็มที่ประหนึ่งเถ้าแก่หอบเสื่อหมอนใบมาจากโพ้นทะเล หนักเอาเบาสู้ ไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรค หมั่นเรียนรู้ทักษะด้านต่างๆพัฒนาตัวเอง

ก่อนเข้ามาทำธุรกิจเครือข่าย ข้อมูลของบริษัทที่ต้องศึกษาให้มากเป็นพิเศษเพราะสำคัญต่อเส้นทางสู่เศรษฐีว่าใช้เวลาช้าเร็ว ขรุขระหรือโรยด้วยกลีบกุหลาบ ก็คือ แผนธุรกิจหรือแผนการตลาด ของบริษัทนั้นๆ เพราะจะช่วยตอบคำถามว่า เราจะได้ผลตอบแทนจากการทำงานเอ็มแอลเอ็มอย่างไร อ่านแล้วจะเลิกสงสัยเลยว่า เศรษฐีเอ็มแอลเอ็มรวยได้อย่างไร เครือข่ายทำเงินให้เราแบบไหน มันต่างจากแชร์ลูกโซ่ที่ต้มตุ๋นตรงไหน

ท้ายที่สุด ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้มีทัศนคติที่ดีต่อธุรกิจเครือข่าย ลุยงานได้ชนิดใจไม่เคลือบแคลงสงสัยอะไรอีก

เมื่อคิดดีทำดีพูดดีแล้ว "รวยแน่" คอนเฟิร์ม!!!

ร่วมเรียนรู้เพื่อ "เปิดโอกาสใหม่ๆให้กับชีวิต"  http://www.elite-powerteam.com/tapana

"เอ็กซ์" ฐปน วันชูเพลา (ผู้เขียน)


และเพื่อมอบกำลังใจอันยิ่งใหญ่ให้กับผู้เขียน ^__^
ถ้าชอบกด Like ถ้าใช่กด Share ถ้าทั้งชอบทั้งใช่ กรุณากดทั้ง Like ทั้ง Share ได้เลยครับ อย่าได้เกรงใจ

ช่องทางติดต่อผู้เขียน …
อีเมล์  tapanaone@gmail.com
เฟซบุ๊ค  https://www.facebook.com/tapana.jcteam
แฟนเพจ  https://www.facebook.com/MLM.MoneyLovesMe
แบ่งปันมุมมอง ประสบการณ์ และโอกาสดี ๆ  http://tapanaone.blogspot.com และ http://www.bangsaensook.com/Business

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วางแผนชีวิตวัยเกษียณบนกองเงินกองทอง

เคยวาดภาพหรือเปล่าครับ ชีวิตวัยเกษียณของเราจะเป็นอย่างไร ทั้งสภาพของร่างกาย จิตใจ และเงินทอง ใครเตรียมพร้อมล่วงหน้าเป็นสิบๆปี ขอแสดงความยินดีด้วยครับที่จะได้เป็น ท่าน ส.ว. (สูงวัย) ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรง เตะปี๊บดัง จิตใจเบิกบาน ใบหน้าเปื้อนรอยยิ้ม มีเงินทองใช้สอย เอื้อให้ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี

ประเด็นเงินทอง คนไทยสมัยก่อนไม่น่าห่วง กรณีรับราชการ รัฐยังเลี้ยงดูดียามแก่เฒ่าด้วยเงินบำเหน็จบำนาญ ส่วนประชาชนทั่วไป คุณภาพชีวิตไม่เลวร้ายนัก เพราะข้าวของไม่แพง ดอกเบี้ยเงินฝากถือว่าสูง สิ่งฟุ่มเฟือยเย้ายวนใจให้จับจ่ายใช้สอยไม่ค่อยมี ชีวิตอาจไม่สุขีสุโขมาก แต่ไม่ลำบากยากเข็ญ ผิดกับคนสมัยนี้ ถ้าไม่วางแผนการเงินเห็นทีลำบาก หวังลูกหลานเลี้ยงเหมือนรุ่นปู่ย่าตายายของเราเห็นทีจะยาก "ตนเป็นที่พึ่งของตน" ดีที่สุด

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย สัดส่วนการให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) สูงถึง 79 เปอร์เซ็นต์ เขียนให้ชาวบ้านเข้าใจง่ายๆก็คือ คนไทยสมัยนี้กู้ยืมหรือนำเงินนอนาคตมาใช้เพิ่มขึ้น ไม่ใส่ใจความพอเพียงและพิจารณาเหตุผลในการใช้จ่าย

นอกจากยืมเยอะยังเก็บน้อยด้วย เห็นได้จากสัดส่วนการออมต่อรายได้ของครัวเรือนไทย ลดจากร้อยละ 11.3 (ค่าเฉลี่ยระหว่างปี 2533-53) ลงเหลือเพียงร้อยละ 9.2 ในปี 2554 และถ้าดูจากสภาพแวดล้อมสังคมปัจจุบันเชื่อว่าปี 2555 คงต้องลดลงอีก

อีกทั้งยังสอดคล้องกับข้อมูลปี 2555 ของสถาบันวิจัยตลาดทุน ที่พบว่า แรงงานในระบบช่วงอายุ 40-60 ปี ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ออมเงินน้อยจนไม่มีเงินพอที่จะใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีคุณภาพสูงถึง 39 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสาเหตุมาจากภาระค่าใช้จ่ายและหนี้สิน

คนไทยบางส่วนตกอยู่ในสภาพชีวิตแบบนี้เพราะ "นิสัยขาดวินัยทางการเงิน" คือไม่เก็บออม ไม่นำเงินไปลงทุนเพิ่มมูลค่า (ฝากธนาคารกินดอกเบี้ย ถึงน้อยแต่ยังดีกว่าไม่ทำอะไร) และซ้ำร้าย ยังใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัวเกินฐานะจนต้องกู้หนี้ยืมสิน แล้วแบบนี้จะไปเหลืออะไรให้ใช้หลังเกษียณละครับ

ใครที่อยากเสวยสุขบนกองเงินกองทองในวัยที่ไม่มีใครจ้างไม่มีเรี่ยวแรงทำงานประจำได้อีกแล้ว ต้องทำสิ่งตรงข้ามกับนิสัยที่อ้างในย่อหน้าก่อนหน้านี้คือ ใช้จ่ายประหยัดสมฐานะ ใช้จ่ายให้อยู่ในวงเงินที่หามาได้ เก็บออมเงินบางส่วนไว้ แล้วนำไปลงทุนเพิ่มมูลค่า เช่น ฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน ลงทุนในทองคำ กองทุนรวม ตลาดหุ้น อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ

งานเสริมหรืออาชีพสำรอง เป็นอีกวิธีที่จะรับประกันคุณภาพชีวิตที่ดีหลังเกษียณ เปรียบเสมือน "กระเป๋าเงินสำรอง" ที่ไม่เพียงเพิ่มรายได้อีกทางแต่ยังช่วยกระจายความเสี่ยง เป็นหลักประกันถ้าเกิดเหตุไม่คาดฝันกับงานประจำ เช่น ถูกลดเงินเดือน โดนไล่ออก เพราะโลกสมัยนี้เชื่อมต่อถึงกันหมด แม้บริษัทยังดูเข้มแข็งแต่กลับปิดตัวดื้อๆจากผลกระทบของเศรษฐกิจภายในและนอกประเทศ เช่นวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ทำให้หลายคนมองว่า งานที่มั่นคงไม่มีอีกแล้ว ขนาดบริษัทไฟแนนซ์ที่สร้างความมั่งคั่งให้กับเหล่ามนุษย์ทองคำ ยังล่มสลายลงอย่างรวดเร็ว

พิษต้มยำกุ้งของไทยแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจประเทศเดียวส่งผลกระทบไปทั่วโลกรุนแรงขนาดไหน จากนั้นยังมีวิกฤติเศรษฐกิจอีกหลายครั้งที่สร้างความสั่นสะเทือนไปทั่วโลกเช่น ซับไพร์มในอเมริกา วิกฤติเศรษฐกิจในกรีซ กระทั่งเหตุการณ์ที่ไม่ถึงขั้นวิกฤติอย่างปัญหาส่งออกของจีน นโยบายธนาคารกลางสหรัฐ ยังสามารถสร้างความปั่นป่วนให้หลายประเทศได้

แล้วงานอะไรที่จะมาเป็นกระเป๋าเงินสำรองของเรา ?

ถ้าคิดน้อยๆ ก็เอาทักษะความสามารถส่วนตัวที่เก่งอยู่แล้วไปรับจ้างเป็นฟรีแลนซ์หรือเอาท์ซอร์ช เช่น แปลภาษา เขียนโปรแกรม ซ่อมไฟฟ้า ทำงานฝีมือ วาดภาพเหมือนภาพการ์ตูน ฯลฯ หรือคิดการใหญ่ พอมีเงินเก็บไว้ลงทุน ก็สร้างธุรกิจเล็กๆอย่างขายของบนอินเตอร์เน็ต ขายของตลาดนัด แผงลอย ซื้อแฟรนไชส์ข้าวมันไก่ ก๋วยเตี๋ยวบะหมี่ ขายกาแฟ ฯลฯ

แต่ไม่ว่างานมือปืนรับจ้างหรือธุรกิจเล็กๆมีจุดเหมือนกันอย่างหนึ่งคือ "ต้องออกแรง จึงได้เงิน" ทำฟรีแลนซ์หรือเอาท์ซอร์ช ถ้าไม่มีใครจ้าง ก็ไม่มีเงิน ส่วนพวกธุรกิจเล็กๆ อาจเจอสถาวะเงินเข้าสะดุดหรือหยุดไปเลยด้วยหลายเหตุผล เจ็บป่วย ฝนตกพายุเข้า ซัพพลายเออร์เบี้ยวไม่ส่งของ หรือเศรษฐกิจแย่ ทำให้ลูกค้าหาย กำลังซื้อหด สรุปคืองานที่ทำหยุดไม่ได้ ต้องทำงานไปเรื่อยๆ เพื่อให้เงินเข้าต่อเนื่อง

รายได้เข้ากระเป๋าเงินแบบ "ต้องออกแรง จึงได้เงิน" ฝรั่งบัญญัติศัพท์ไว้ว่า Active Income ซึ่งตรงข้ามกับ Passive Income ที่เป็นวิธีสร้างรายได้แบบเงินไหลเข้ามาเรื่อยๆแม้ตัวเองไม่เข้าออฟฟิศ ไม่ทำงาน นอนเล่นอยู่ในบ้าน พักผ่อนหย่อนใจที่ต่างจังหวัดต่างประเทศ

โรเบิร์ต คิโยซากิ เจ้าของหนังสือซีรี่ส์ดัง "พ่อรวยสอนลูก" เขียนไว้ในเล่ม "เงินสี่ด้าน" ว่า มีคนสองจำพวกที่ "ไม่ต้องออกแรง ก็ได้เงิน" คือ เจ้าของธุรกิจ และ นักลงทุน

เราคุ้นเคยกันดีกับเจ้าของธุรกิจ ซึ่งรับรายได้มาจากกิจการของตัวเอง ส่วนนักลงทุน ในอดีตเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับคนทั่วไป แต่ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กระแสลงทุนมาแรง โดยเฉพาะลงทุนในตลาดหุ้นที่เป็นช่วงกระทิง(ขาขึ้น) มีเศรษฐีอายุน้อยเกิดขึ้นมากมาย มีพ็อกเก็ตบุ๊คแนะเล่นหุ้นออกมาไม่ขาดสาย ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า รวมทั้งหนังสือลงทุนรูปแบบอื่นๆ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ กองทุนรวม ทองคำ อสังหาริมทรัพย์

เอ่ยถึงนักธุรกิจ จะเห็นภาพคนที่ใช้เงินลงทุนสูงเป็นหลักล้านบาท มีพนักงานหลักร้อย ต้องทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ ใช้ทักษะความสามารถหลายด้าน ทั้งทางธุรกิจ การตลาด การบริหาร การเงิน ทรัพยากรบุคคล ฯลฯ เห็นแบบนี้แล้ว เจ้าของธุรกิจคงเป็นความฝันเกินเอื้อมสำหรับคนทั่วไปแน่นอน

อย่าเพิ่งล้มความฝันครับเพราะ โรเบิร์ต คิโยซากิ บอกว่า "ยังมีธุรกิจที่ลงทุนต่ำ เสี่ยงน้อย ใช้เวลารวดเร็ว และสามารถทำงานประจำไปด้วย"

ธุรกิจที่ว่าคือ ธุรกิจการตลาดแบบเครือข่าย (Network Marketing Business) เรียกสั้นๆว่า "ธุรกิจเครือข่าย" หรืออีกชื่อหนึ่ง เอ็มแอลเอ็ม (Multi-Level Marketing) ครับ

ลุยศึกษาหาความรู้ธุรกิจเครือข่ายกันอย่างจริงจัง เพื่อวันข้างหน้า เราจะได้มีเงินเข้าแบบ Passive คล้ายกับเงินบำนาญข้าราชการ และที่สำคัญ สามารถเกษียณได้ก่อนอายุ 60 ปีด้วย มีเรี่ยวแรงทำอะไรสนุกๆได้อีกเยอะ

ร่วมเรียนรู้เพื่อ "เปิดโอกาสใหม่ๆให้กับชีวิต"  http://www.elite-powerteam.com/tapana

"เอ็กซ์" ฐปน วันชูเพลา (ผู้เขียน)


และเพื่อมอบกำลังใจอันยิ่งใหญ่ให้กับผู้เขียน ^__^
ถ้าชอบกด Like ถ้าใช่กด Share ถ้าทั้งชอบทั้งใช่ กรุณากดทั้ง Like ทั้ง Share ได้เลยครับ อย่าได้เกรงใจ

ช่องทางติดต่อผู้เขียน …
อีเมล์  tapanaone@gmail.com
เฟซบุ๊ค  https://www.facebook.com/tapana.jcteam
แฟนเพจ  https://www.facebook.com/MLM.MoneyLovesMe
แบ่งปันมุมมอง ประสบการณ์ และโอกาสดี ๆ  http://tapanaone.blogspot.com และ http://www.bangsaensook.com/Business

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หล่นมาจากฟ้า? อยู่เฉยๆก็รับเงิน

โดยส่วนตัวไม่รู้สึกว่าเสน่ห์ของ "ธุรกิจเครือข่าย" อยู่ที่จำนวนเงิน เพราะอีกหลายอาชีพก็ได้รับเงินก้อนโตพอฟัดพอเหวี่ยงกัน แต่มองว่าเป็น "กระแสเงิน" ที่ไหลมาเรื่อยๆประหนึ่งสายน้ำมากกว่าครับ มีเงินเข้าทั้งที่ไม่ได้ทำอะไร ได้แบบไม่รู้เนื้อตัว ตื่นขึ้นมาก็เจอเงินเพิ่มในบัญชีธนาคาร กำลังนั่งใจลอยก็มีข้อความเข้ามือถือแจ้งว่ามีเงินเข้า เซอร์ไพรส์แบบนี้เป็นใคร ใครก็เอาใช่ไหมครับ

รายได้ลักษณะนี้ ฝรั่งบัญญัติศัพท์ว่า Passive Income คือได้เงินแบบไม่ต้องออกแรง ตรงข้ามกับ Active Income ซึ่งเป็นวิธีหาเงินของคนส่วนใหญ่ในโลก ถ้าไม่ทำงานก็ไม่ได้เงิน มนุษย์เงินเดือน พ่อค้าแม่ขาย ฟรีแลนซ์ ล้วนจัดอยู่ในกลุ่มนี้ทั้งนั้น

เวลาไปนั่งฟังบรรยาย OPP เพื่อชักจูงกล่อมตะล่อมให้มาเป็นนักธุรกิจเครือข่าย รายได้แบบ Active กับ Passive ถือเป็นหัวข้อเด็ดที่ต้องนำมาพูดถึง สามารถโน้มน้าวให้คนฟังเคลิ้ม ฝันเห็นธนบัตรโผล่ออกมาจ๊ะเอ๋บ้าง แต่อีกใจหนึ่ง คงสงสัยว่าเป็นไปได้อย่างไร อยู่เฉยๆแต่รับเงิน หรือบริษัทพวกนี้มีธรรมเนียมแจกอั่งเปานอกเทศกาลตรุษจีน

เอ็มแอลเอ็มไม่ใช่องค์กรกุศลที่ไม่หวังผลกำไร บริษัทคิดอะไรทำอะไรต้องได้ผลประโยชน์เข้าตัวอยู่แล้ว เพียงแต่วิธีคิดมีเป้าหมายให้ win-win ทั้งบริษัทและนักธุรกิจเครือข่าย ซึ่งท้ายสุดแล้ว ถ้าคนทำงานยิ่งได้มากเท่าไร บริษัทจะได้เยอะทับทวีคูณ ก็ยุติธรรมดี

1.สมมุติคุณเป็นพนักงานขาย นอกจากได้รับเงินเดือนจากบริษัทแล้วยังได้ค่าคอมมิชชั่นด้วย เช่น รับเปอร์เซนต์ของราคาสินค้าต่อชิ้นที่ขายได้ และถ้ายอดขายรวมสูงกว่าเพดานที่บริษัทกำหนด เกินแสนบาทต่อเดือน ก็จะได้เปอร์เซนต์ที่สูงขึ้น จาก 3 เป็น 5 เปอร์เซนต์เป็นต้น

2.สมมุติคุณเป็นหัวหน้าทีมขาย มีลูกน้องสิบคน นอกจากคอมมิชชั่นยอดขายส่วนตัวแล้ว บริษัทยังแบ่ง 1 เปอร์เซนต์มาจากยอดขายรวมของลูกน้องแต่ละคนให้คุณด้วย และยิ่งยอดขายรวมทั้งทีมเกิน 1.5 ล้านบาท คุณจะได้เพิ่มเป็น 2 เปอร์เซนต์ เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้คุณพัฒนาลูกทีมเป็นนักขายชั้นเซียน

3.บริษัทมีนโยบายใหม่ อนุญาตให้พนักงานทุกคนสร้างทีมขายของตัวเองได้ จากที่คุณเคยมีลูกน้อง 10 คน ก็เพิ่มเป็น 10 ทีม แต่ละทีมมีลูกน้องไม่เท่ากัน แต่เพื่อให้มองภาพง่ายๆ ให้ลูกน้อง 10 คนแรกของคุณ มีลูกน้องในทีมตัวเอง 3 คนเท่ากัน รวมเป็น 30 คน ทั้งหมดถือเป็นลูกน้องแถวที่ 2 ของคุณ เพิ่มเติมจากลูกน้องแถวแรก 10 คน แต่ไฮไลท์อยู่ที่คุณยังได้คอมมิชชั่นจากผลงานของ 30 คนแถวสองนี่ด้วย

4.จากนโยบายดังกล่าว พนักงานขายแถวสอง 30 คน สามารถสร้างทีมของตัวเองได้ด้วย สมมุติว่า 30 คนมีลูกทีม 5 คนเท่ากัน นั่นคือ คุณมีลูกน้องแถวสามมากถึง 150 คน และเช่นเดิม คุณยังได้คอมมิชชั่นจากพนักงานขายทุกคนทั้งแถวหนึ่ง 10 คน, แถวสอง 30 คน และแถวสาม 150 คน (หัวหน้าทีมแถวสองและสาม ก็ได้คอมมิชชั่นจากพนักงานชั้นต่ำลงไปเช่นกัน)

อย่าสนใจเลยครับว่า บริษัทจ่ายคอมมิชชั่นแต่ละแถวอย่างไร มันสมองระดับนี้บวกลบคูณหารตัวเลขเงินพร้อมวางเงื่อนไข เพื่อจัดสรรผลตอบแทนแต่บริษัทยังมีกำรี้กำไรมหาศาลได้อยู่แล้ว

5.เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก พนักงานขายที่อยู่ภายใต้เครือข่ายของคุณมีหลักพัน ณ จุดจุดนี้ไม่รู้ใครเป็นใครแล้ว คุณรู้จักและดูแลสารทุกข์สุกดิบได้เพียงพนักงาน 2-3 แถวแรกเท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นร้อยๆคนนั้นก็มีหัวหน้าทีมระดับชั้นที่อยู่ใกล้เคียงดูแลสอนงานคอยแก้ไขปัญหากันไปณ จุดจุดนี้อีกที คุณไม่ได้ออกไปขายสินค้าเองแล้ว เงินเดือนจากบริษัทก็เอาไปทำบุญทำกุศล แค่คอมมิชชั่นจากพนักงานในเครือข่ายก็เพียงพอเลี้ยงชีพไปสบายๆแล้ว


เงินที่โผล่แบบไม่รู้ที่มาที่ไปในธุรกิจเครือข่าย มีต้นสายปลายเหตุคล้ายกับตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นนั่นเอง แม้ไม่ตรงความจริงเสียทีเดียวแต่คงพอทำให้เห็นภาพได้บ้างนะครับ นอกจากนี้แต่ละบริษัทก็มีแผนธุรกิจที่รายละเอียดแตกต่างกันไป บ้างก็ทำได้จริง บ้างก็ทำจริงได้ยาก บ้างก็สมเหตุสมผลทำได้ตลอดไป บ้างก็ทำได้ไม่กี่ปี บริษัทจ่ายผลตอบแทนไม่ไหว ต้องปิดกิจการเลิกไปเลย ตรงนี้ต้องเลือกบริษัทและศึกษาแผนธุรกิจให้ดีๆ

หลักสำคัญที่ธุรกิจเครือข่ายนำไปใช้กระจายผลตอบแทนคือ "หลักคานผ่อนแรง" ซึ่ง พอล เก็ตตี้ มหาเศรษฐีพันล้านคนแรกของโลก กล่าวไว้ว่า "ผมยินดีรับผลตอบแทนหนึ่งเปอร์เซนต์จากการทำงานของคนร้อยคน มากกว่าได้รับผลตอบแทนร้อยเปอร์เซนต์จากการทำงานของผมเพียงคนเดียว"

ดังนั้นถ้าเปรียบกับตัวอย่างข้างต้น

รับผลตอบแทนร้อยเปอร์เซนต์จากคนเดียว = กรณีที่ 1 = Active Income

รับผลตอบแทนหนึ่งเปอร์เซนต์จากคนร้อยคน = กรณีที่ 5 = Passive Income

กรณีที่ 1 เป็นวิธีทำงานหาเงินที่คนส่วนใหญ่บนโลกทำกัน และน่าจะเป็นเช่นนั้นต่อไป ส่วนกรณีที่ 5 เป็นวิธีของคนส่วนน้อย ประมาณหนึ่งเปอร์เซนต์ของประชากรโลกเท่านั้น แต่แนวโน้มจะมีผู้คนเข้ามาอยู่ในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ช่วงที่คนคิดและทำแบบนี้ยังน้อย คู่แข่งก็น้อยแบบนี้ ลองตัดสินใจดูนะครับว่า จะปรับเปลี่ยนวิธีทำงานหาเงินดีไหม?

ร่วมเรียนรู้เพื่อ "เปิดโอกาสใหม่ๆให้กับชีวิต"  http://www.elite-powerteam.com/tapana

"เอ็กซ์" ฐปน วันชูเพลา (ผู้เขียน)


และเพื่อมอบกำลังใจอันยิ่งใหญ่ให้กับผู้เขียน ^__^
ถ้าชอบกด Like ถ้าใช่กด Share ถ้าทั้งชอบทั้งใช่ กรุณากดทั้ง Like ทั้ง Share ได้เลยครับ อย่าได้เกรงใจ

ช่องทางติดต่อผู้เขียน …
อีเมล์  tapanaone@gmail.com
เฟซบุ๊ค  https://www.facebook.com/tapana.jcteam
แฟนเพจ  https://www.facebook.com/MLM.MoneyLovesMe
แบ่งปันมุมมอง ประสบการณ์ และโอกาสดี ๆ  http://tapanaone.blogspot.com และ http://www.bangsaensook.com/Business

วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เหนื่อยชั่วคราว สบายชั่วโ-ตร

คุณต้องเคยผ่านตาตัวเลขรายได้ทำนองนี้ของ "ธุรกิจเครือข่าย" บนโซเชียลมีเดียมาแน่

   3-4 พันบาท ภายในเจ็ดวัน
   ห้าหมื่นบาทต่อเดือน ภายในหนึ่งปี
   ห้าแสนขึ้นต่อเดือน ภายในสามปี
   ทะลุหลักล้านต่อเดือน ภายใน 5-6 ปี


...ข้อความชวนเชื่อข้างต้นเป็นความจริงครับ มีพยานบุคคลตัวเป็นๆให้จับต้องได้ (จำนวนเยอะด้วย) คุณก็เป็นแบบพวกเขาได้ถ้าไม่ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม ทำไปบ่นไป หนักไม่เอาเบาไม่สู้ เงินไม่มางานไม่ไป แต่ต้องเป็นคนหนักเอาเบาสู้ ทุ่มเทแรงกายแรงใจเกินร้อย ไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรค ยึดคติล้มเหลวแต่ไม่ล้มเลิก ต้องทั้งอึดทั้งทึก สู้สู้สู้ ถ้ายังไปไม่ถึงรายได้ที่โฆษณากันจะไม่เลิกลาเด็ดขาด ไหวไหมครับเหนื่อยขนาดนี้สัก 5-6 ปี

ไม่ต้องอายครับถ้าตอบว่าไม่ไหวไม่เอา คนส่วนใหญ่ก็ตอบแบบนั้น เพราะถ้ามันง่ายจนใครๆก็ตอบว่า "ไหว! เอา! สู้ได้! ทำได้!" คงมีคนรวยเดินกันเกลื่อนเมือง โยนก้อนหินแบบมั่วๆเข้าไปในฝูงคนสักสามก้อน ต้องโดนหัวเศรษฐีสักคน

ผมก็เคยตอบแบบนั้นครับ แต่เปลี่ยนใจหลังจากอ่านเรื่องราวบทสัมภาษณ์ของกลุ่มคนที่แปรสภาพเป็นเศรษฐีหลังทำงานหนักในธุรกิจเครือข่ายหรือเอ็มแอลเอ็มมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง แถมส่วนใหญ่เลือกทำงานต่อ ไม่ยอมเกษียณตัวเองทั้งที่ทำได้จากรายได้ก้อนโตที่ยังไหลเข้าบัญชีเรื่อยๆ แต่เป็นการทำเบาๆสบายๆมากกว่า ทำเพราะความเคยชิน และยังรู้สึกสนุกมีความสุขกับงานที่ทำอยู่

เท่าที่รับรู้มา เศรษฐีเอ็มแอลเอ็มไม่ได้ทำงานหนักหรือต้องสู้กับปัญหาอุปสรรคมากมายระดับโอเวอร์เกินมนุษมนาเจอะเจอ ว่ากันตามจริงยังเบากว่าเจ้าของบริษัทห้างร้านขนาดกลางถึงใหญ่ด้วยซ้ำ เพราะเอ็มแอลเอ็มเป็นธุรกิจสำเร็จรูป ที่ไม่ต้องสร้างโรงงาน ทำหน้าร้าน ผลิตสินค้าเอง เป็นการสร้างธุรกิจที่ลงทุนน้อย ลดความเสี่ยงเป็นเงาตามตัว งานหนักจึงอยู่ที่การบริหารจัดการ สื่อสาร โฆษณา ประชาสัมพันธ์ ศึกษาเรียนรู้ พัฒนาตัวเองและธุรกิจมากกว่า ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่า ไม่ได้หนักหนาหรือต้องขยันมากไปกว่ามนุษย์เงินเดือนสักคนหนึ่งที่ต้องการความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่และรายได้เงินเดือนเลย

ที่ออฟฟิศ ไม่ว่าราชการ เอกชน หรือรัฐวิสาหกิจ มักจะพบคนทำงานที่ขยันมากๆ ยอมทำงานล่วงเวลา หอบงานกลับไปทำที่บ้าน วันหยุดก็ยังนึกถึงงานหรือทำงาน แน่นอนครับคนทำดีย่อมได้รับผล ได้เลื่อนชั้นเลื่อนขั้น ตำแหน่งก้าวหน้าขึ้นไปอยู่บนยอดๆของฝ่ายบริหาร ได้เงินเดือนเพิ่มมากกว่าเกณฑ์ มีโบนัสเป็นกำลังใจทุกปี กราฟชีวิตการงานก็ขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งเกษียณ องค์กรมอบโล่เชิดชูให้เป็นแบบอย่างแก่พนักงานรุ่นหลัง ถ้าเป็นข้าราชการ คงมีเงินจากบำเหน็จบำนาญไว้ใช้สอยยามแก่เฒ่า ส่วนลูกจ้างบริษัทเอกชน ถ้ารู้จักเก็บหอมรอมริบ เอาไปลงทุนให้งอกเงยมากกว่าแค่เข้าธนาคารกินดอกเบี้ยฝากประจำ ก็น่าจะมีชีวิตความเป็นอยู่สบายระดับหนึ่ง

เศรษฐีเอ็มแอลเอ็ม ก็ทำงานหนักและต้องผจญด่านชีวิตโหดๆพอๆกับมนุษย์เงินเดือนกลุ่มนี้ครับ แต่ความแตกต่างอยู่ที่..หยาดเหงื่อจากความเหนื่อยยากเป็นเสมือนน้ำที่รดลงไปทำให้ธุรกิจของเราเจริญเติบโตงอกงาม ไม่ใช่ธุรกิจของคนอื่นครับ บวกกับด้วยความที่เป็นธุรกิจสำเร็จรูป มีบริษัทสนับสนุนเรื่องผลิตภัณฑ์สินค้า การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ข้อมูลทักษะความรู้ ฯลฯ ซึ่งตรงนี้เองครับที่ช่วยแบ่งเบาภาระของนักธุรกิจเครือข่ายลงไปได้มาก ผลลัพธ์จะมากน้อยอย่างไรจึงขึ้นอยู่กับความทุ่มเทส่วนตัวล้วนๆ ไม่ต้องห่วงเรื่องการเมืองในออฟฟิศ การเลื่อยขาเก้าอี้ หรือเหยียบบ่ากันขึ้นไป

ตัวแปรสำคัญของรายได้ 3-4 พันบาท ภายในเจ็ดวัน, ห้าหมื่นบาทต่อเดือน ภายในหนึ่งปี, ห้าแสนขึ้นต่อเดือน ภายในสามปี และทะลุหลักล้านต่อเดือน ภายใน 5-6 ปี ขึ้นอยู่กับ "แผนธุรกิจหรือแผนการตลาด" ของบริษัทธุรกิจเครือข่ายที่เราเลือกว่าเป็นไปได้จริงไหม ยากง่ายแค่ไหน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาให้รู้ลึกรู้จริง เพื่อจะได้เห็นแนวทางการทำงานว่าต้องเป็นไปในรูปแบบไหน มีเส้นทางมีเป้าหมายแบบไหน ที่จะทำให้เราได้รับผลตอบแทนสูงสุด

ฟังดูเหมือนทางลัด แต่จริงๆไม่ใช่ครับ การตีแตก "แผนธุรกิจ" ของบริษัทได้ จะช่วยให้เราทำงานและสร้างผลงานบนถนนเอ็มแอลเอ็ม ให้เดินไปถึงเป้าหมายทางการเงินได้เร็วและสะดวกสบายขึ้น คือไม่ต้องเหนื่อยเกินความจำเป็นเท่านั้นเอง

ไหนๆต้องเหนื่อยแล้ว จะดีกว่าไหมครับถ้าเหนื่อยกับธุรกิจตัวเอง แถมเป็นการเหนื่อยชั่วคราว ก่อนสบายชั่วโ-ตร อีกด้วย ^__^

"เอ็กซ์" ฐปน วันชูเพลา (ผู้เขียน)

ร่วมเรียนรู้เพื่อ "เปิดโอกาสใหม่ๆให้กับชีวิต"  http://www.elite-powerteam.com/tapana

และเพื่อมอบกำลังใจอันยิ่งใหญ่ให้กับผู้เขียน ^__^
ถ้าชอบกด Like ถ้าใช่กด Share ถ้าทั้งชอบทั้งใช่ กรุณากดทั้ง Like ทั้ง Share ได้เลยครับ อย่าได้เกรงใจ

ช่องทางติดต่อผู้เขียน …
อีเมล์  tapanaone@gmail.com
เฟซบุ๊ค  https://www.facebook.com/tapana.jcteam
แฟนเพจ  https://www.facebook.com/MLM.MoneyLovesMe
แบ่งปันมุมมอง ประสบการณ์ และโอกาสดี ๆ  http://tapanaone.blogspot.com และ http://www.bangsaensook.com/Business

วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิธีแก้อาการผวา "ธุรกิจเครือข่าย"


มนุษย์มักกลัวในสิ่งที่ไม่รู้ ถ้ารู้แล้ว ไม่กลัวหรอกครับ คนเราชอบดูหมอให้ทำนายดวงชะตา เพราะอยากรู้อยากเห็นอนาคต จะได้สบายใจ แต่ไม่เห็นมีใครกลัวอดีตที่ผ่านมาแล้วเลย

ธุรกิจเครือข่าย ก็ดูน่ากลัว ไม่น่าเข้าไปข้องแวะ เพราะคนในที่ทำให้ภาพวงการนี้แปดเปื้อนก็มีอยู่จริง แต่คนดีๆทำมาหากินสุจริตก็มีอยู่เยอะ และมากกว่าด้วยซ้ำ ไม่งั้นธุรกิจเครือข่ายคงไม่เติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญผู้คนทั่วโลกยินดีเดินบนถนนเอ็มแอลเอ็มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

จะรู้จริง ต้องศึกษาครับ เอาให้ชัดอะไรคือเครือข่ายลวงโลกขายฝัน อะไรคือเครือข่ายดีๆ แยกแยะถูกเมื่อไร ก็ลุยได้เลยครับ ทำจริง สู้จริง รวยแน่ เริ่มอ่านบทความ 10 เรื่องจากเว็บไซต์ของ สคบ. (สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) ก่อนละกันตามลิงค์ข้างล่าง ผมรวมไฟล์ไว้ให้แล้วเพื่อความสะดวก ถ้าสนใจก็ส่งอีเมล์มาขอกันได้ครับที่ tapanaone@gmail.com เขียน subject ว่า "ขอไฟล์บทความจากสคบ." แล้วรอรับได้เลยครับ


หรือถ้าอ่านแล้ว สนใจอยากลงมือทำธุรกิจเครือข่ายอย่างจริงจังล่ะ เชิญร่วมเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อ "เปิดโอกาสใหม่ๆให้กับชีวิต" ได้ที่  http://www.elite-powerteam.com/tapana

1.ขายตรง ขายฝัน หรือ ลวงโลก
http://www.ocpb.go.th/ewtadmin/ewt/ocpb_web/download/pdf/a1.pdf

2.แชร์ลูกโซ่กับเครือข่ายคนโลภ 
http://www.ocpb.go.th/ewtadmin/ewt/ocpb_web/download/pdf/a2.pdf

3.นักเรียนนักศึกษาระวังตกเป็นเหยื่อ 
http://www.ocpb.go.th/ewtadmin/ewt/ocpb_web/download/pdf/a3.pdf

4.โกงที่ไม่มีวันหมดสินเมื่อคนยังมีความโลภอย่างไร้สติ 
http://www.ocpb.go.th/ewtadmin/ewt/ocpb_web/download/pdf/a4.pdf

5.แชร์ลูกโซ่ยุคใหม่อ้างสินค้าบังหน้ากู้หนี้เกษตรกร
http://www.ocpb.go.th/ewtadmin/ewt/ocpb_web/download/pdf/a5.pdf

6.พฤติกรรมโดยรวมที่อ้างการประกอบธุรกิจขายตรงไปกระทำผิดกฎหมาย 
http://www.ocpb.go.th/ewtadmin/ewt/ocpb_web/download/pdf/a6.pdf

7.ข้อพึงสังเกตความแตกต่างธุรกิขายตรงกับธุรกิจขายตรงแอบแฝง (แชร์ลูกโซ่)  
http://www.ocpb.go.th/ewtadmin/ewt/ocpb_web/download/pdf/a7.pdf

8.การขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตเป็นธุรกิจตลาดแบบตรงที่ต้องจดทะเบียนต่อ สคบ. 
http://www.ocpb.go.th/ewtadmin/ewt/ocpb_web/download/pdf/a8.pdf

9.ระวังถูกหลอกให้เข้าร่วมธุรกิจแชร์ลูกโซ่  
http://www.ocpb.go.th/ewtadmin/ewt/ocpb_web/download/pdf/a9.pdf

10.สิ่งที่ผู้บริโภคควรรู้และนักขายตรงพึงกระหนักในธุรกิจขายตรง 
http://www.ocpb.go.th/ewtadmin/ewt/ocpb_web/download/pdf/a10.pdf

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

มาเป็นนักธุรกิจอิสระห้าสิบยังแจ๋วกันเถอะ

ผู้ใหญ่วัยสี่สิบหยกๆห้าสิบหย่อนๆ ถ้าตัดสินใจทำธุรกิจเครือข่าย ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง เพราะความได้เปรียบจากประสบการณ์ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะ ช่วยให้เรียนรู้ทักษะความรู้ต่างๆได้ง่าย ตีแตกความสลับซับซ้อนของแผนการตลาด เอาตัวรอดจากปัญหาอุปสรรค มีความหนักแน่นมั่นคงทางอารมณ์ ไม่ท้อถอยถอดใจง่ายๆ และที่สำคัญ สำหรับบางคนแล้ว ความแก่ก็มาพร้อมกับการดูดีดูน่าเชื่อถือ

โลกวันนี้แบ่งคนเป็น 4 ยุค หรือ 4 เจน (Generation) เริ่มตั้งแต่เด็กที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงพ.ศ.2489-2507 อายุ 49-67 ปี เรียกว่า Baby Boomers หรือ เจนบี ตามด้วย เจนเอ็กซ์ พ.ศ.2508-2522 อายุ 34-48 ปี, เจนวาย พ.ศ.2523-2543 อายุ 13-33 ปี และ เจนแซด เป็นเด็กที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ.2544 ขึ้นไป

ปีเกิดของผม (ผู้เขียน) ตกอยู่ปีสุดท้ายของเจนบี ความรู้สึกนึกคิดจึงกระเดียดไปทางเจนเอ็กซ์มากกว่า ซึ่งทางทฤษฏี พฤติกรรมเป็นพวกชอบอะไรง่ายๆ ไม่มีพิธีรีตรอง ไม่บ้างาน ให้ความสำคัญกับ Work-Life Balance พยายามมีเวลาให้ครอบครัว มีแนวคิดการทำงานในลักษณะรู้ทุกอย่าง ทำทุกอย่างได้เอง ไม่พึ่งใคร แต่ก็มีความคิดเปิดกว้าง พร้อมฟังข้อติติง เพื่อปรับปรุงพัฒนาตนเอง

ว่ากันเฉพาะคนทำงานวัยสี่สิบปลายๆถึงหกสิบ หรือเกิดช่วงรอยต่อระหว่างเจนบีกับเอ็กซ์ ส่วนใหญ่มีงานการชนิดปักรากลงฐานเหนียวแน่น เงินมากน้อย ชีวิตออฟฟิศสุขทุกข์อย่างไร ปูนนี้แล้วคงไม่คิดมองหางานใหม่ จะดีจะชั่วก็พยายามทำใจปล่อยวาง ประคับประคองงานเก็บหอมรอมริบเงินจนถึงวัยเกษียณ อยู่กับลูกหลาน รักษาสุขภาพกายใจให้แข็งแรง จากโลกไปด้วยความสงบสุข

ถ้าเปรียบงานเป็นกีฬา คนวัยนี้กำลังเล่นโหมด Play Safe ไม่เอาความมั่นคงหรือรายได้ที่รับแน่ๆไปเสี่ยงกับอนาคตที่คาดเดาไม่ได้ เขียนแบบหยาบๆก็ กำอุจจาระดีกว่ากำตด แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า คนเจนบีต่อเจนเอ็กซ์จะงอมืองอเท้า ไม่คิดไม่ทำอะไรเพื่อให้ชีวิตตัวเองดีขึ้นนะครับ แต่วัยปูนนี้แล้ว จะโลดโผนโจนทะยานเหมือนหนุ่มสาวคงไม่ไหว ต้องอาศัยลูกเก๋า เคลื่อนไหวตัวน้อยๆ ใช้สมองคิดหาช่องทาง พอเห็นลู่ทางชัดๆ แล้วค่อยทุ่มเรี่ยวแรงที่มีอยู่อัดไปเต็มเหนี่ยว ตูม!!! โป้งปิดบัญชี

เชื่อหรือไม่ครับ ธุรกิจเครือข่ายหรือเอ็มแอลเอ็ม ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นอาชีพที่ไม่น่าไว้ใจ ต้มตุ๋นหลอกลวง ต้องขายสินค้า ชักชวนคนมาร่วมเครือข่ายธุรกิจ ขนาดหนุ่มสาวเจนวายที่เปิดกว้างพร้อมรับสิ่งใหม่ๆ ยังลังเล บ้างก็หนีห่างไปเลย แต่คนวัยสี่สิบหยกๆ ห้าสิบหย่อนๆ กลับทะยอยเดินบนถนนเอ็มแอลเอ็มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้จำนวนอาจไม่มากเหมือนเทียบกับคนวัย 20-30 แต่เป็นประเด็นที่น่าศึกษาจริงๆ

ผมจะไม่แปลกใจเลยว่า ถ้าคุณลุงคุณป้าคุณอาคุณน้าที่จับธุรกิจเครือข่าย มีความจำเป็นบีบบังคับ มีเงินชักหน้าไม่ถึงหลัง มีภาระรับผิดชอบเยอะ ต้องหาอาชีพเสริมเพิ่มกระเป๋าเงินอีกใบ แต่ความจริงคือ หลายท่านไม่ได้ทุกข์ร้อนกับงานปัจจุบัน มีเงินพอกินพออยู่อย่างสบายๆ ตำแหน่งหน้าที่อยู่ระดับกลางค่อนไปทางสูง เหตุผลที่พอประมวลมามีประมาณนี้ครับ

1. ยังทำงานเดิมต่อไปได้ ไม่ต้องลาออกจากงานเดิมเพื่อมาทำธุรกิจเครือข่ายแบบเต็มตัว สามารถใช้เวลาหลังเลิกงานหรือวันหยุดก็เพียงพอถ้าจัดสรรใช้เวลาให้คุ้มค่า ลงมือทำอย่างมีประสิทธิภาพ มีแผนมีเป้าหมาย

2. ลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ เมื่อเทียบกับการลงทุนทำธุรกิจทั่วไป ไม่ต้องมองระดับแฟรนไชส์ที่ใช้เงินแสน เพียงแค่กิจการเล็กๆ ก็ต้องเริ่มต้นหลายหมื่่น ต้องใช้ความรู้ประสบการณ์ทางธุรกิจ การตลาด การบริหาร การเงิน ฯลฯ  ทุ่มเทแรงกายแรงใจ เต็มไปด้วยความเสี่ยง อาจต้องเจอกับความเจ็บปวดความทุกข์และขาดทุน

3. งานสำเร็จ เสร็จงานได้ ขณะที่งานทั่วไปต้องทำไปเรื่อยๆจนเกษียณ หยุดทำ รายรับก็หยุดด้วย แต่ธุรกิจเครือข่าย ถ้าขยันเอาจริงบวกลูกอึดเพียงระยะเวลาหนึ่่ง แค่ไม่กี่ปี 2-3 ปีเป็นอย่างเร็ว ก็สามารถทำต่ออย่างเบาๆสบายๆ หรือหยุดก็ได้ แต่ยังมีเงินเข้าบัญชีธนาคารอย่างต่อเนื่อง

4. เพิ่มสีสันให้ชีวิต ผู้ใหญ่วัยสี่สิบหยกๆห้าสิบหย่อนๆมักต้องพบเจอกิจวัตรที่ซ้ำๆในที่ทำงานอยู่ชั่วนาตาปี ชนิดหลับตาทำยังได้ แต่ธุรกิจเครือข่ายที่เริ่มต้นจากศูนย์ มีอะไรให้เรียนรู้ปรับปรุงแก้ไขปัญหาอุปสรรคมากมาย เท่ากับกระตุ้นให้รู้สึกระชุ่มกระชวยเหมือนเพิ่งทำงานเป็นครั้งแรก แถมยังเปิดโอกาสให้พบปะผู้คนใหม่ๆอีกด้วย

5. นี่เป็นธุรกิจของตัวเอง ไม่เพียงทำมาก ตัวเองก็ได้มาก ขยันแค่ไหน ผลประโยชน์ก็ตกอยู่กับตัวเอง แต่ยังเป็นความภูมิใจใช่หยอกที่ได้มีธุรกิจส่วนตัวหลังจากเป็นลูกจ้างบริษัทหรือราชการมาร่วม 20-30 ปี

แม้อายุอานามจะขยับหาช่วงปลายชีวิต วันเวลาเกือบครึ่งศตวรรษได้สร้างความเคยชินมากมาย จนอาจหวั่นใจไม่กล้าเปิดประตูไปทักทายสิ่งใหม่ๆ แต่ถ้าใครทำได้ ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จในสายอาชีพเอ็มแอลเอ็มไม่ใช่น้อย เพราะประสบการณ์ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะจะช่วยให้เรียนรู้ทักษะความรู้ต่างๆได้ง่าย ตีแตกความสลับซับซ้อนของแผนการตลาด มองเห็นช่องทางที่ทำรายได้เยอะแต่เหนื่อยน้อย มีความเก๋าที่เอาตัวรอดจากปัญหาอุปสรรค มีความหนักแน่นมั่นคงทางอารมณ์ ไม่ท้อถอยถอดใจง่ายๆ และที่สำคัญ สำหรับบางคนแล้ว ความแก่ก็มาพร้อมกับการดูดีดูน่าเชื่อถือ ยิ่งหากมีโปรไฟล์การทำงานตำแหน่งหน้าที่ดีๆ ก็นับเป็นจุดขายช่วยดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย (โอ้โห!!! คุณลุงคุณป้าระดับนี้ ยังตัดสินใจทำธุรกิจอีก มันต้องเจ๋งเป้งแน่ๆ)

ดร.สมชาย หัชลีฬหา ประธานกรรมการ บจก.จอยแอนด์คอยน์ คอร์ปอเรชั่น หนึ่งในบริษัทธุรกิจเครือข่ายชั้นนำของเมืองไทย เคยให้สัมภาษณ์ถึงนักธุระอิสระสูงวัยไว้ว่า "เราเพียงทำให้เห็นว่าเป็นองค์กรทันสมัย ส่วนคนที่จะมาทำเป็นรุ่นใหม่รุ่นเก่า เราไม่ได้คาดหวัง แต่เราค่อนข้างเชื่อว่า คนรุ่นเก่าคือกำลังสำคัญ ทำอะไรก็สำเร็จ เพราะทำอะไรทำจริง ทำนาน และไม่เลิก เพราะผ่านประสบการณ์มาแล้ว ล้มไม่ได้แล้ว แต่ถ้าเป็นคนรุ่นใหม่ เข้าเร็วออกเร็ว ตัดสินใจเร็ว แล้วเลิก อีกสามวันไม่เอาแล้ว สิ่งนี้ก็เป็นปัญหาเช่นกันสำหรับบริษัทขายตรง ที่เจอกลุ่มคนนี้ ยอดอาจขึ้นเร็ว แต่แป๊บเดียวก็ร่วง"

ฟังแบบนี้แล้ว คนรุ่น over-40 พร้อมลงสนามเอ็มแอลเอ็ม กันแล้วใช่ไหมครับ

"เอ็กซ์" ฐปน วันชูเพลา (ผู้เขียน)


เพื่อมอบกำลังใจอันยิ่งใหญ่ให้กับผู้เขียน ^__^
ถ้าชอบกด Like ถ้าใช่กด Share ถ้าทั้งชอบทั้งใช่ กรุณากดทั้ง Like ทั้ง Share ได้เลยครับ อย่าได้เกรงใจ


ร่วมเรียนรู้เพื่อ "เปิดโอกาสใหม่ๆให้กับชีวิต"  http://www.elite-powerteam.com/tapana

ช่องทางติดต่อผู้เขียน …
อีเมล์  tapanaone@gmail.com
เฟซบุ๊ค  https://www.facebook.com/tapana.jcteam
แฟนเพจ  https://www.facebook.com/MLM.MoneyLovesMe
แบ่งปันมุมมอง ประสบการณ์ และโอกาสดี ๆ  http://tapanaone.blogspot.com และ http://www.bangsaensook.com/Business

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ทำไมหนุ่มสาว "กล้าดี" ลุยธุรกิจเครือข่าย?

หนุ่มสาวสมัยนี้หันมาทำธุรกิจเครือข่ายกันมาก เพราะเป็นงานที่ถูกนิสัยของคนกลุ่มนี้ที่ฝรั่งเรียกว่า "เจน วาย" ทั้งมีอิสระ ไม่มีเจ้านายบังคับ ทำงานที่ไหนเวลาไหนก็ได้ ไม่ต้องเข้าออฟฟิศตอกบัตร เป็นงานที่ทุ่มเทแค่ระยะเวลาหนึ่งก็เกษียณได้แต่ยังมีรายรับเข้ามาเรื่อยๆ ที่สำคัญนี่คือธุรกิจของตัวเอง แต่งานแบบนี้ ไม่ว่าอยู่ใน"เจน"ไหน ก็ชอบทั้งนั้น เพียงแต่ "เจน วาย" กล้าเปิดรับสิ่งท้าทายใหม่ๆมากกว่าเท่านั้นเอง

เพราะบ้านอยู่หลังมหาวิทยาลัย และโซเชียลมีเดียข่าวท้องถิ่นที่ทำอยู่ก็มีนักศึกษาเป็นเพื่อนไม่ใช่น้อย ทำให้ผมมีโอกาสสัมผัสความนึกคิดของหนุ่มสาวสมัยนี้พอสมควร เห็นถึงความแตกต่างระหว่างรุ่นหลานๆกับรุ่นผม ที่ไม่ใช่ตัวเลขอายุ 30 ปี แต่เป็นเรื่องเงินๆทองๆการทำมาหากินด้วย

เด็กมหาวิทยาลัยเมื่อสามทศวรรษที่แล้ว ส่วนใหญ่จะเรียน เล่น และทำกิจกรรม ใครที่ทำงานหาเงินมักเป็นคนที่ฐานะทางบ้านไม่สู้ดี ต่างกับวัยรุ่น พ.ศ.นี้ ที่ทำงานเป็นเรื่องปกติด้วยเหตุผลต่างๆกันเช่น หาเงินไว้ซื้อของฟุ่มเฟือย เที่ยวกลางคืน ทำเอาสนุกตามเพื่อนฝูง เก็บเกี่ยวประสบการณ์ หารายได้กันจริงๆจังชนิดตั้งตัวได้พร้อมรับปริญญากันเลย

งานที่เด็กรุ่นนี้ทำไปไกลกว่าทำสมุดไว้ขายนักศึกษาใหม่ ตั้งโต๊ะขายของในกิจกรรมที่จัดในมหาวิทยาลัย ทำของที่ระลึกขายศิษย์เก่าในงานคืนสู่เหย้า ฯลฯ ขนาดหาสินค้าไปขายตลาดนัดหรือทำงานในร้านสะดวกซื้อร้านฟาสต์ฟู้ด ยังเป็นจ็อบธรรมดา พวกเขาไปไกลถึงขั้นลงทุนเปิดร้านกาแฟเก๋ๆ ร้านอาหารเล็กๆแต่มีสไตล์ ร้านเหล้า ฯลฯ บางคนเป็นนักลงทุนขณะวัยไม่ถึงยี่สิบ นำเงินไปซื้อกองทุนรวมหุ้น กองทุนรวมทอง เริ่มหาหนังสือหุ้นมาศึกษา

ผู้ใหญ่บางคนมองเด็กสมัยนี้เป็นพวกรักสบาย งานหนักไม่เอา ทำอะไรก็ถอดใจง่าย แถมหัวดื้อรั้นไม่ฟังใคร ซึ่งก็มีส่วนจริง แต่อีกมุมหนึ่ง คนแต่ละรุ่นมักจะมีจุดเด่นจุดด้อยตามสภาพแวดล้อมสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่มีรุ่นไหนดีหรือแย่กว่าอีกรุ่น มีแต่รุ่นนี้แข็งตรงนี้อ่อนตรงโน้น

ทางวิชาประชากรศาสตร์ ใช้เกณฑ์ช่วงอายุ (Generation) เป็นตัวกำหนดแบ่งคนออกเป็นกลุ่มหรือเรียกแบบไม่เป็นทางการว่า "เจน" ได้แก่ เจน บี (เบบี้ บูม), เจน เอ็กซ์, เจน วาย และเจน แซด แต่ละเจนมีทัศนคติเรื่องการทำงานต่างกัน อย่างเจนบี หรือคนที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นพวกเคารพกฎกติกา อดทน ยินดีทำงานหนักเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว มีความจงรักภักดีต่อองค์กรที่ทำงานอยู่ ไม่ค่อยเปลี่ยนงาน

จากเจนบีข้ามเจนเอ็กซ์ มายังเจนวายเลยเพื่อให้เห็นความแตกต่างแบบชัดๆ เจนวายเกิดระหว่างพ.ศ.2523-2543 ตอนนี้อายุ 13-33 ปี เด็กมหาวิทยาลัยและหนุ่มสาวที่กำลังก่อร่างสร้างตัวจากการทำงานก็อยู่ในเจนนี้ พวกเขาโตมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีไอที ลักษณะนิสัยเด่นของเจนวายก็คือ รักอิสระ ไม่ชอบอยู่ในกรอบหรือถูกจำกัดด้วยเงื่อนไข กล้าแสดงออก มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ค่อนข้างติดความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว ความหวือหวา นิสัยเหล่านี้สะท้อนออกมาให้เห็นผ่านงานที่เจนวายเลือกทำ เช่น

1.ธุรกิจส่วนตัว ไม่ชอบทำงานแบบมีเจ้านายคอยบังคับบัญชา สามารถปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ได้เต็มที่

2.ฟรีแลนซ์ เอื้ออิสระให้ทำงานเวลาไหนที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องเข้าออกตอกบัตรเป็นเวลาแบบมนุษย์เงินเดือน

3.การลงทุน เช่น พันธบัตร หุ้น กองทุนรวม ทองคำ ฯลฯ มองว่าเป็นงานที่ทำแบบสบายๆ รับผลตอบแทนเร็ว พร้อมรับความเสี่ยง ไม่ห่วงความมั่นคง

4.ธุรกิจเครือข่าย เป็นงานที่ทุ่มเทแค่ระยะเวลาหนึ่ง สามารถเกษียณเพื่อไปใช้ชีวิตอิสระอย่างที่ต้องการ ขณะที่ยังมีรายได้เข้ามาเรื่อยๆ

งานแต่ละอย่างสามารถตอบโจทย์ที่มาจากลักษณะนิสัยของคนเจนวายได้ทั้งนั้น จะเห็นว่าหนุ่มสาวยุคนี้เป็นฟรีแลนซ์กันเยอะ เริ่มสร้างธุรกิจตั้งแต่อายุยี่สิบต้นๆ พอสะสมเงินได้ระดับหนึ่งก็นำไปต่อยอด เอาไปลงุทนรูปแบบต่างๆ แทนการฝากธนาคารกินดอกเบี้ยแบบคนเจนบี

ธุรกิจเครือข่าย หรือ เอ็มแอลเอ็ม (Mult-Level Marketing) เริ่มเป็นทางเลือกใหม่ของเจนวาย แม้สังคมจะมองอาชีพขายตรงหลายชั้นเป็นงานสีเทา มีความเคลือบแคลงไม่น่าไว้ใจซ่อนอยู่ แต่ด้วยความที่มีใจเปิดกว้าง กล้าลองทำสิ่งใหม่ๆ ทำให้พวกเขาเห็นอีกด้านหนึ่งของธุรกิจเครือข่ายที่เชื่อว่า ตอบโจทย์ความฝันของพวกเขาที่อยากมีธุรกิจของตัวเอง ได้เงินเยอะๆ ใช้เวลารวดเร็ว สามารถไปมีคุณภาพชีวิตที่ดี มั่นคง และอิสระ นอกจากนี้ธุรกิจเครือข่ายยังตอบโจทย์เช่นเดียวกับงานอื่นๆเช่น

1.ไม่มีหัวหน้าชี้นิ้วสั่งงาน พวกเขาสามารถรับผิดชอบชีวิตตัวเอง

2.ไม่มีบริษัทมาตัดสินผลงานเพื่อขึ้นเงินเดือนหรือให้โบนัส พวกเขาสามารถสร้างธุรกิจ มีองค์กรของตัวเอง

3.ไม่ต้องตอกบัตรเข้าออก ไม่ต้องรอวันหยุดวันลา พวกเขาสามารถเลือกจะทำงานกี่โมงก็ได้ ยืดหยุ่นระยะเวลาทำงานแต่ละวัน ออกแบบวันทำงานวันหยุดของตัวเอง

4.ไม่ต้องเดินทางในช่วงเวลาเร่งด่วน แล้วไปใช้เวลาหลายชั่วโมงในออฟฟิศ พวกเขาสามารถเลือกเวลาที่จะออกไปทำงานข้างนอกเอง หรือจะแต่งตัวสบายๆทำงานในบ้านตัวเอง

จะว่าไปแล้ว ไลฟ์สไตล์และการทำงานแบบนี้ ใครๆก็ชอบ ไม่ว่าจะเป็นเจนบี เจนเอ็กซ์ หรือเจนวาย ขึ้นอยู่กับ "หัวใจ" ที่จะเปิดรับสิ่งใหม่ๆอย่างธุรกิจเครือข่ายหรือเปล่า หรือจะยอมให้ลักษณะนิสัยเฉพาะของเจนตัวเองเป็นตัวจำกัด แล้วก้มหน้าก้มตาทำงานแบบเดิมต่อไป แม้ลึกๆแล้ว ไม่มีความสุขกับงานที่เป็นอยู่เลย

ถ้าต้องการ "สิ่งใหม่" ก็ต้องกล้าหนีจาก "สิ่งเดิม" ครับ เหมือนดังที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยพูดว่า "ความวิกลจริต คือ การทำสิ่งเดิมซ้ำๆ แล้วหวังผลลัพธ์ที่ต่างไปจากเดิม"





วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

วันหนึ่ง วิดีโอคลิปนี้ อาจเปลี่ยนชีวิตคุณก็ได้


อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยพูดว่า "ความวิกลจริต คือ การทำสิ่งเดิมซ้ำๆ แล้วหวังผลลัพธ์ที่ต่างไปจากเดิม"

...  ถ้าคุณกำลังไม่พอใจตัวเลขเงินเดือน ลองมองหางานรูปแบบใหม่ๆดู ผมขอเวลาชั่วโมงครึ่ง คลิกชมวิดิโอนี้จนจบ ยังไม่ต้องเชื่อก็ได้ครับ ขอแค่เปิดใจรับว่า มีสิ่งนี้ที่ทำให้คนเรารวยได้อยู่ในโลกนี้ก็พอ วันหนึ่งมันอาจเปลี่ยนชีวิตคุณก็ได้ครับ

< http://www.youtube.com/watch?v=ZA3Es3XRIL0 >

** หรือเข้ามารู้จักธุรกิจเพียงลงทะเบียนที่

http://www.elite-powerteam.com/tapana
(ผมสัญญาจะเก็บข้อมูลเป็นความลับ ผมไม่ชอบ Spam เช่นกัน)

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

แค่เรียนรู้ ทำตาม เพื่อผลลัพธ์เดียวกัน


เขาทำได้ !! คุณก็ทำได้ !!
แค่เรียนรู้ ทำตาม เพื่อผลลัพธ์เดียวกัน


หลังลองผิดถูกนับสิบปี ไบรอัน เทรซี่ นักเขียนชื่อดังเจ้าของหนังสือฮิต "กินกบตัวนั้นซะ!" และ "จูบกบตัวนั้นซะ!" ต้องทึ่งกับความเรียบเงียบในกุญแจสำเร็จที่เขาพบ.."เพียงค้นหาว่าคนที่ประสบความสำเร็จเขาทำกันอย่างไร แล้วก็ทำตามนั้นจนกว่าได้รับผลลัพธ์เดียวกัน"

ถ้าคุณพร้อมจะศึกษาวิธีทำงานของเด็กหนุ่มคนนี้ คลิกลิงค์เพื่อลงทะเบียนครับ

http://www.elite-powerteam.com/tapana/
(ผมสัญญาจะเก็บข้อมูลเป็นความลับ ผมไม่ชอบ Spam เช่นกัน)

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนไป ทำงานไป ได้เงินด้วย

เหมาะสมแล้วที่โรเบิร์ต คิโยซากิ ตั้งชื่อหนังสือที่เขียนถึงธุรกิจเครือข่ายว่า "โรงเรียนสอนธุรกิจ" เพราะขนาดยังไม่ได้ทำอาชีพนี้ แค่ลองเข้าไปฟังข้อมูลเพื่อตัดสินใจ ก็ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในรั้วโรงเรียน "เตรียม อ.อ.อ." (เอ็มแอลเอ็ม) และสิ่งทีเกิดขึ้นทันทีที่เป็นนักธุรกิจเครือข่ายชนิดเต็มตัวก็คือ "เรียนไป ทำงานไป ได้เงินด้วย แถมรูปกายภายนอกดูดีอีก" ... ชีวิตจะเพอร์เฟ็คอะไรขนาดนั้น

โรเบิร์ต คิโยซากิ กูรูด้านลงทุนและการเงินชาวอเมริกัน เจ้าของหนังสือซีรี่ส์ดัง "พ่อรวยสอนลูก" ตั้งชื่อเล่มที่เขียนถึงธุรกิจเครือข่ายไว้ค่อนข้างยาวว่า Rich Dad's the Business School for People who Like Helping People (ชื่อไทย "โรงเรียนสอนธุรกิจ สำหรับคนที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น") แต่คำที่เขาเน้นให้มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษบนหน้าปกคือ "the Business School" หรือ "โรงเรียนสอนธุรกิจ"

ขณะอ่านยังไม่ค่อยเก็ตกับชื่อหนังสือ จนกระทั่งเริ่มเข้าสู่ธุรกิจเครือข่ายหรือเอ็มแอลเอ็มอย่างเต็มตัว ถึงซาบซึ้งกับคำว่า "the Business School" เพราะทำงานสายอาชีพนี้เหมือนกับเข้าโรงเรียนจริงๆ แต่ที่ดีกว่ามากๆคือ "เรียนไป ได้เงินไป" ไม่ต้องรอให้จบรับปริญญาแล้วค่อยออกไปหางานหาเงินเหมือนสมัยมหาวิทยาลัย

ในฐานะที่เดินผ่านรั้วโรงเรียน อ.อ.อ. มาก่อน ขอแนะนำในนักเรียนใหม่ลืมความรู้เดิม วางอีโก้จากความสำเร็จในสายงานเดิม ทำตัวเป็นแก้วเปล่า รอรับน้ำที่กำลังจะถูกเติม มีตัวอย่างผู้ประสบความสำเร็จในธุรกิจส่วนตัวท่านหนึ่ง กิจการไปได้ดี ค้าขายมีกำไร แล้วหันมาจับงานขาย พอตั้งหลักได้ปุ๊บ ท่านก็ลุยสร้างเครือข่ายด้วยวิธีของตัวเองทันที ไม่สนที่เคยได้ยินได้ฟังมาจากคอร์สอบรมของบริษัท ผลคือแป๊กครับ ถึงสปอนเซอร์คนเข้าเครือข่ายได้ แต่เหนื่อยสายตัวแทบขาด และจำนวนไม่ได้มากตามเป้า เป็นอยู่อย่างนี้หลายเดือน ถึงตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้แนวทางของบริษัทดู ผลคือเวิร์คสุดๆ เหนื่อยน้อย คนที่ตอบรับทำธุรกิจไม่เพียงมาก แต่เป็นคนที่มีประสิทธิภาพด้วย (ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ต้องเดินตามเป๊ะๆ เป็นสูตรคณิตศาสตร์นะครับ แค่ยึดเป็นแนวทาง และปรับเปลี่ยนประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์)

ส่วนใหญ่ บริษัทที่ทำธุรกิจเครือข่ายจะเชิญผู้สนใจเข้ามาฟังบรรยายเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจสมัครทำธุรกิจอยู่แล้ว เรียกว่า OPP (ย่อมาจาก Opportunity หรือ "โอกาส") หรือ Super OPP กรณีที่เป็นงานใหญ่ มีวิทยากรดังๆมาพูด เนื้อหาหลักๆจะเป็นการป้อนทัศนคติใหม่ๆที่มีต่องาน เงิน เวลา และชีวิต ซึ่งจะได้จากการเข้ามาทำธุรกิจเครือข่ายเมื่อเทียบกับงานประจำที่ทำอยู่ในฐานะมนุษย์เงินเดือน รวมถึงแนะนำบริษัท ผลิตภัณฑ์ตัวสินค้าที่จะนำไปขาย ผลตอบแทนที่ได้รับจากแผนการตลาด โบนัสรูปแบบต่างๆ ฯลฯ

ถ้าเริ่มสนใจธุรกิจเครือข่าย จะมีบรรยายสอนวิธีทำงานกันเลยทีเดียวเสมือนเป็นนักธุรกิจอิสระกันแล้ว เช่น ทำบัญชีรายชื่อผู้มุ่งหวัง (เป้าหมายที่จะติดต่อชักชวน), ไดอะล็อคในการโทรศัพท์นัดหมาย, วิธีนำเสนอแผนงาน, ติดตามผล ฯลฯ ซึ่งมาถึงจุดนี้ เป้าหมายก็มีข้อมูลมากพอแล้วที่จะตัดสินใจเดินหน้าหรือถอยหลังกลับไปทำงานเก่า

หลังจากสมัครเป็นนักธุรกิจอิสระแล้ว ใครที่มุ่งมั่นจริงๆมักกลับมาศึกษาเรื่องที่เคยฟังไปแล้วแบบเจาะลึกลงในรายละเอียด รวมทั้งขวนขวายพัฒนาทักษะอื่นๆเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพอย่างเช่น ทัศนคติสู่ความสำเร็จ การเป็นผู้นำ การสื่อสาร การพบปะผู้คน การเอาชนะความกลัว ความสงสัย ความไม่มั่นใจในตัวเอง การเอาชนะความกลัวจากคำปฏิเสธ การสร้างความน่าเชื่อถือ การบริหารเงิน การลงทุน การบริหารเวลา การจัดระบบ เป็นต้น รวมทั้งการปรับปรุงบุคลิกภาพ รูปร่างหน้าตา การแต่งตัว กิริยามารยาท ฯลฯ จะเห็นว่ามีเรื่องที่ให้เรียนรู้พัฒนาไม่มีที่สิ้นสุด เรียนไป ลองลงมือทำจริง รับเงินด้วย แถมทำให้ตัวเองดูดีขึ้นอีก

นั่นเป็นทักษะความรู้ที่จำเป็นต่อนักธุรกิจอิสระแบบออฟไลน์ คือพวกที่ออกไปพบปะพูดคุยกับผู้คน แต่ยังมีนักธุรกิจอิสระอีกกลุ่มหนึ่งที่เลือกใช้วิธีออนไลน์ ใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ไอทีเป็นเครื่องมือสื่อสารถึงเป้าหมายหรือผู้มุ่งหวังแบบไม่ต้องเจอตัว คนกลุ่มนี้จะต้องศึกษาเรื่องอุปกรณ์ไอทีอย่าง โน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน แล้วใช้กลยุทธ์ทางออนไลน์ มาร์เก็ตติ้ง อาทิ เอสอีเอ็ม แลนดิ้งเพจ อีเมล์ วิดีโอคลิป โซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค บล็อค คลาสสิฟายด์เว็บบอร์ด เป็นต้น

บางบริษัทบางกลุ่มก็จะสอนเรื่อง mindset ล้วงลึกถึงแก่นแท้จิตวิญญาณ เปลี่ยนวิธีคิดการมองโลกและทัศนคติกันเลยทีเดียว ซึ่งตรงนี้ควรเรียนรู้ตั้งแต่ต้นจะดีกว่า และมีความสำคัญไม่ว่าจะทำงานแบบออฟไลน์หรือออนไลน์

โรเบิร์ต คิโยซากิ เขียนไว้ในหนังสือเล่มดังกล่าวถึงโอกาส 8 ข้อที่จะได้รับเมื่อเข้ามาทำธุรกิจเครือข่าย ซึ่งข้อแรกคือ "โอกาสในการเรียนรู้ธุรกิจที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของคุณ" และเหตุผลข้อที่หนึ่ง ที่เขาอยากชักชวนให้ผู้คนเข้าสู่สายอาชีพนี้ทั้งที่ตัวเองไม่ได้ร่ำรวยเป็นเศรษฐีจากเอ็มแอลเอ็ม ไม่ใช่เพราะ "แผนการตลาดที่ให้ผลตอบแทนสูง" แต่เป็น "กระบวนการในการอบรมของบริษัท" ต่างหาก

ถ้าคุณกำลังเลือกบริษัทที่จะฝากผีฝากไข้ฝากอนาคตในวงการเอ็มแอลเอ็ม อย่ามุ่งความสนใจไปที่ผลตอบแทนเกินความจำเป็น แต่ให้มองหาบริษัทที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากร ซึ่งจะช่วยให้บริษัทเติบโตแบบยั่งยืนกว่าการใช้เงินเป็นตัวล่อดึงเข้ามาเยอะๆ

และถ้า "อัพไลน์" หรือคนที่ดึงคุณเข้าไปอยู่ใต้เครือข่าย จะเป็นพวกให้ความสำคัญกับการศึกษา พัฒนาความรู้ความสามารถ พร้อมเป็น "โค้ช" หรือ "เทรนเนอร์" ให้กับคุณ ยิ่งเยี่ยมยอดขึ้นไปอีก คือคุณจะได้รับแรงหนุนทั้งจากบริษัทและทีมงาน

จากนั้นก็เป็น "คุณ" แล้วล่ะครับที่จะเรียนไป ทำงานไป ได้เงินด้วย แถมรูปกายภายนอกดูดีอีก ... ชีวิตจะเพอร์เฟ็คอะไรขนาดนั้น ^-^

ขอเชิญทำความรู้จักธุรกิจเครือข่ายได้ที่  http://www.elite-powerteam.com/tapana
พบปะแลกเปลี่ยนมุมมองได้ที่  https://www.facebook.com/tapana.jcteam

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

My name is MLM wanting to be your friend.


คิดจะทำงานหนักทั้งที ดีไหมถ้า..
ทุ่มแรงกายแรงใจกับธุรกิจตัวเอง
..โชคดีที่วันนี้
มีช่องทางสร้างธุรกิจง่ายๆ
ลงทุนน้อยกว่าซื้อแฟรนไชส์
เสี่ยงน้อยกว่าทำกิจการทั่วไป
ไม่ต้องรอเกษียณตอนอายุ60
เซฟสุดๆทำพร้อมงานประจำได้
ช่องทางนี้ชื่อ "ธุรกิจเครือข่าย"
ล้างสมองสิ่งที่เคยได้ยินได้ฟัง
เริ่มมาทำความรู้จักกับเค้าใหม่
คบกันจริงๆ เค้าอาจดีกว่าที่คิด
เหมือนกับที่ผมเป็นมาแล้ว
อ้อ..เรียกเค้าว่า MLM ก็ได้
^-^

คนรวยคิดแปลกๆ "ทำธุรกิจสำเร็จแล้ว..แต่ยังไม่เสร็จ" ?!?!

ผิดครับถ้าคิดว่า นักธุรกิจเครือข่ายส่วนใหญ่ย้ายมาจากอาชีพพนักงานขาย และเอ็มแอลเอ็มเป็นงานในฝันของมนุษย์เงินเดือนที่รายรับไม่พอรายจ่าย เพราะคนที่เข้ามาทำธุรกิจนี้มีความหลากหลายมากทั้งสายอาชีพและวัย และเชื่อหรือไม่ คนรวยจากการประกอบธุรกิจก็ร่วมเดินบนถนนเส้นนี้ด้วย พวกเขามองว่า กิจการที่ทำอยู่สำเร็จแต่ไม่เสร็จ ขณะที่เอ็มแอลเอ็มนั้น "สำเร็จและเสร็จ" (แต่ความรวยไม่เสร็จ)

5.4 ล้านคน เป็นตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการของนักธุรกิจเครือข่ายหรือเอ็มแอลเอ็มในเมืองไทย หรือประมาณ 8.1 เปอร์เซนต์ของประชากรทั้งประเทศ (67 ล้านคน) และแนวโน้มยังเพิ่มขึ้นทุกปี เช่นเดียวกับอัตราเติบโตของยอดขายรวมที่เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 5-7 เปอร์เซนต์ โดยเมื่อปี 2555 พวกเขาช่วยกันขายและขยายเครือข่ายได้รวม 8.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีผู้ประเมินว่า ตัวเลขจะแตะหลักแสนล้านบาทแน่นอนเมื่อสิบประเทศกลุ่มเออีซีเปิดประตูเสรีในปี 2558

ผมเคยนึกเล่นๆ (สงสัยตัวเองอยู่เหมือนกันว่า หาประโยชน์อันใดมิทราบ) ว่า ส่วนใหญ่เป็นคนอาชีพไหนที่เปลี่ยนงานเก่ามาทำธุรกิจเครือข่าย?

อาชีพแรกที่ผุดขึ้นมาคือ เซลส์แมนหรือพนักงานขาย เพราะมีทักษะความสามารถและรักงานขายอยู่แล้ว ถ้าเห็นผลตอบแทนจากแผนการตลาดของบริษัทต่างๆ ก็น่าเปลี่ยนมาจับงานขายตรงแบบหลายชั้น ที่ดูได้เงินเป็นกอบเป็นกำ ทั้งจากการหาของตนเอง และจากเปอร์เซนต์ของคนที่อยู่ในสายงานตามลำดับชั้นตาม "หลักคานผ่อนแรง" ของพอล เก็ตตี้ มหาเศรษฐีพันล้านคนแรกของโลก ซึ่งบอกว่า "ผมยินดีรับผลตอบแทนหนึ่งเปอร์เซนต์จากการทำงานของคนร้อยคน มากกว่าได้รับผลตอบแทนร้อยเปอร์เซนต์จากการทำงานของผมเพียงคนเดียว"

ผิดคาดครับหลังจากคุยกับเพื่อนฝูงรุ่นพี่รุ่นน้องที่อยู่ในสายงานขาย แทบทุกคนเซย์โนกับเอ็มแอลเอ็ม เช่น "โอ๊ย! มีคนชวนมาเยอะ แต่ไม่เอาหรอก ขายอย่างทุกวันนี้ก็เงินดีอยู่แล้ว" หรือ "บริษัทพวกนี้จ่ายเงินดีแค่ปีแรกๆแล้วก็ปิดกิจการ" ยกเว้นกลุ่มขายประกัน ที่ใช้ระบบขายตรงแบบเครือข่ายเหมือนกัน จะแบ่งรับแบ่งสู้ ขอพิจารณาเงื่อนไขผลประโยชน์เพื่อเปรียบเทียบกับงานที่ทำอยู่ ส่วนนักขายรุ่นเก่าๆ มักปฏิเสธเพราะมีรายได้ดีอยู่แล้วจากฐานที่สั่งสมมาหลายปี

เหตุผลหลักที่นักขายทั่วไปปฏิเสธน่ามาจากภาพพจน์ที่ไม่ดีออกสีเทาๆไปทางโทนดำของเอ็มแอลเอ็ม กลัวถูกหลอกเลยไม่เอาดีกว่า อีกอย่างงานขายที่ทำอยู่เป็นลักษณะวันแมนโชว์ ไม่ต้องปวดหัวกับทีมงาน ซึ่งแม้มีทีมงาน แต่ก็เป็นกลุ่มเล็กๆหรือถ้าใหญ่จะออกแนวผู้บังคับบัญชาสั่งได้ ต่างกับทีมงานในเอ็มแอลเอ็ม ซึ่งจะประสบความสำเร็จมากขึ้นตามเครือข่ายทีมงานที่ใหญ่ขึ้น ที่สำคัญทุกคนที่อยู่ใต้เรา ต่างมีอิสระ ไม่สามารถสั่งซ้ายหันขวาหัน ผู้นำในวงการนี้จึงต้องมีจิตวิทยาสูง ใช้ทั้งไม้แข็งไม้นวม แถมรับหน้าที่เทรนเนอร์สอนความรู้ทักษะ รวมถึงทัศนคติที่ดีกับงานอีก ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบที่หนัก

แล้วส่วนใหญ่เป็นใครกันที่ก้าวเข้ามาเป็นนักธุรกิจอิสระบนถนนเอ็มแอลเอ็ม คำตอบคือสรุปแบบฟันธงไม่ได้ เพราะหลากหลายสาขาอาชีพมาก ไม่ใช่เพียงพนักงานออฟฟิศพวก white-collar ขนาดแม่ค้าหรือสาวโรงงานยังทำ แถมทำจนมีรายได้เดือนหนึ่งตกหลักหมื่นหลักแสน อายุของคนที่หันมาจับงานนี้ก็หลากหลายด้วย หลายคนยังเรียนในมหาวิทยาลัย หลายคนอยู่ในวัยใกล้เกษียณ บางคนสูงวัยระดับอยู่บ้านเลี้ยงหลานยังมาทำ ทั้งนี้เพราะนักธุรกิจเอ็มแอลเอ็มไม่ต้องทำงานตลอดชีวิต ถ้าทุ่มเทสุดๆสัก 4-6 ปี จนมีรายได้เข้ามาต่อเนื่องถึงตัวเลขที่พอใจ ก็สามารถหยุด หรือทำต่อไปแบบเบาๆได้

อีกประเด็นหนึ่ง ผมมองว่า นักธุรกิจเครือข่ายน่าจะเคยเป็นพวกที่รายรับไม่พอรายจ่าย ไม่ได้หมายความว่าจนนะครับ ฐานะปานกลางหรือมีเงินเดือนหลักหมื่นก็ได้ แต่มีเงินไม่พอซื้อของที่อยากได้ หรือไม่ก็รูดบัตรเครดิตจนต้องเร่งหารายได้เพิ่มเพื่อใช้หนี้

บางคนจริง บางคนไม่ใช่ แต่ค่อนข้างเซอร์ไพรส์คือ คนรวยเป็นถึงเจ้าของธุรกิจก็อยู่ในขบวนนักธุรกิจเครือข่ายด้วย ซึ่งเจ้าของธุรกิจที่ว่านี่ กิจการก็ไปได้ดีค้าขายมีกำไร ไม่ใช่ขาดทุนจนต้องหาเงินทางอื่นมาโป๊ะ และกิจการมีทั้งขนาดกลางถึงใหญ่ทีเดียว (แว่วว่าเจ้าของห้างสรรพสินค้าใหญ่ท่านหนึ่งด้วย)

ถามว่ารวยอยู่แล้ว ทำไมต้องมาขายตรงแบบเครือข่ายที่ผู้คนรู้สึกยี้กัน? คำตอบที่ได้รับคือ

"ธุรกิจสำเร็จ
 แต่ไม่เสร็จ"

"ธุรกิจที่ทำอยู่ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว ฐานะรายได้การเงินก็มั่นคง อนาคตสดใสสามารถเติบโตไปได้เรื่อยๆ แต่งานที่ทำอยู่ทุกวันนี้ มันหยุดไม่ได้ จริงอยู่ที่บริษัทมีผู้จัดการผู้บริหารมาดูแลแบ่งเบาภาระ ลูกหลานสามารถเข้ามารับไม้ต่อได้ แต่มองว่า เป็นงานที่ไม่มีวันเสร็จ ซึ่งในแง่ธุรกิจก็เป็นเรื่องดี ที่มันสามารถเลี้ยงตัวและเติบโตได้เรื่อยๆ ส่วนตัวไม่มีปัญหากับงานหนัก แต่ดีกว่าไหมถ้ามีงานสักอย่างหนึ่ง สามารถประสบความสำเร็จได้ แล้วถ้าหยุดทำ ยังมีเงินเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งคำตอบคือ ธุรกิจเครือข่ายหรือเอ็มแอลเอ็ม ที่ทุ่มเทให้กับมันเพียงไม่กี่ปี จนสามารถสร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ แต่ละคนที่อยู่ในองค์กรล้วนเอาจริงเอาจังกับงานที่ทำ พวกเขามีรายได้น่าพอใจ ซึ่งแน่นอน ทำให้รายได้ของผมเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว จนทุกวันนี้ธุรกิจเดิมไม่มีอะไรน่าห่วงแล้ว รายได้จะเพิ่มจะทรงตัวหรือทรุดลงเล็กน้อย ถ้าเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจ ไม่ใช่เรื่องการบริหาร ถือว่าโอเค เพราะยังมีรายได้เข้ามาอีกทางอย่างต่อเนื่องจากเอ็มแอลเอ็ม"

ฟังแบบนี้ ต้องบอกว่า "ธุรกิจสำเร็จ และรวยไม่เสร็จ" ต่างหาก ^^

<> ขอเชิญทำความรู้จักธุรกิจเครือข่ายได้ที่ http://www.elite-powerteam.com/tapana

<> พบปะแลกเปลี่ยนมุมมองได้ที่ https://www.facebook.com/tapana.jcteam

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

โอกาส(รวย)มากมายกองตรงหน้า ต้องเลือกแล้ว

กูรูด้านอีเบย์สอนลูกศิษย์ว่า "เศรษฐีเห็นโอกาส และโอกาสมีอยู่ทุกหนแห่ง" เป็นเช่นนั้นจริงๆ เป็นเช่นนั้นทุกธุรกิจ และเป็นเช่นนั้นมาตลอด บางทีความยากอาจอยู่ที่ "เราจะเลือกอะไรในความเยอะนั้น" ถึงเวลาที่ต้องเลือกแล้วครับ..เหมือนผมที่ตัดสินใจแล้ว


"อาจารย์โจ" ไพรัช ศรีนครินทร์ ยอดนักขายระดับพาวเวอร์เซลเลอร์และวิทยากรด้านอีเบย์ เว็บซื้อขายบนเน็ตอันดับหนึ่งของโลก กล่าวว่า "หนึ่ง..เศรษฐีเห็นโอกาส" และ "สอง..โอกาสมีอยู่ทุกหนแห่ง" แม้ประโยคทั้งสองถูกเอ่ยระหว่างการบรรยายเรื่องการทำธุรกิจบนอีเบย์ แต่มันก็เป็นจริงกับธุรกิจประเภทอื่นๆเช่นกัน ซึ่งผมเองเห็นด้วยกับที่อ.โจพูดครับ จากที่อ่านฟังประวัติของบรรดาคนรวยๆที่ประสบความสำเร็จ พวกเขาล้วนมีสายตามีมุมมองต่างกับชาวบ้านทั่วไปจริงๆ ไม่ว่ายุคสมัยไหน ถือว่าคุณสมบัติร่วมข้อหนึ่งของเศรษฐี

ขณะนึกเรื่องโอกาส มีความคิดหนึ่งแว้บเข้ามาในหัว "โอกาสสมัยนี้ มันมาให้เห็นง่ายกว่าสมัยก่อน" ... เทียบกับยุค 30 ปีก่อนแล้วกัน ถ้าอยากรวย ข้อมูลดิบที่อยู่ในการรับรู้ของเด็กรุ่นนั้น มีไม่กี่อย่าง ต้องเอนทรานซ์คณะแพทย์ วิศวะ สถาปัตย์ จบออกมามีงานทำรวยแน่ ถ้ารับปริญญาตรีสายอื่น ต้องมองหาบริษัทใหญ่ๆโตๆ เงินเดือนจะได้สูงๆ ถ้าเอาแบบชัวร์ๆมีเงินใช้ยาวถึงหลังเกษียณต้องรับราชการ ไม่ก็เรียนสูงๆจบด็อกเตอร์ไปเลย ส่วนเรื่องทำมาค้าขาย คิดได้แค่ขายคนแถวบ้าน เผื่อขายดิบขายดี ก็ขยายร้านเป็น 2-3 ห้องแถว

ไม่อยากเชื่อเลยว่า แค่ไม่กี่สิบปี โอกาสร่ำรวยจะโผล่มาให้เห็นง่ายและมากมายอย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบัน เหมือนกับที่ผมไม่เคยคิดว่า ในชีวิตนี้จะได้ดูฟุตบอลอังกฤษสดๆครบทุกแมตช์ทางทีวี เพราะสมัยเด็กๆ มีเกมลูกหนังเมืองผู้ดีให้ลุ้นสดๆปีละครั้งคือ นัดชิงชนะเลิศเอฟเอ คัพ โลกสมัยนี้เปลี่ยนแปลงเร็วจริงๆ เร็วด้วยสปีดที่สูงมาก เด็กสมัยนี้ที่อาจนึกภาพการเปลี่ยนแปลงที่ผมรู้สึกไม่อออก ลองคิดถึง gadget อย่างโทรศัพท์มือถือหรือพีซี-โน้ตบุ๊ค ก็แล้วกัน ว่ามันมาเร็วไปเร็วขนาดไหน

ถ้าอยากทราบว่า โอกาสรวยปรากฏตัวให้เห็นง่ายขนาดไหน ให้เข้าไปในร้านขายหนังสือแฟรนไชส์สาขาใหญ่ๆหน่อย เดินตรงไปที่หมวดธุรกิจกับคอมพิวเตอร์ จะพบหนังสือฮาวทูรวยอย่างไรเต็มชั้นไปหมด มีพ็อกเก็ตบุ๊คอย่างรวยเป็นล้านด้วยการเป็นเจ้าของร้านขายกาแฟ เบเกอรี่ ข้าวมันไก่ ก๋วยเตี๋ยว สะดวกซื้อ ซักรีด ฯลฯ รวยง่ายๆแบบออนไลน์จากร้านค้าบนเน็ต ขายของผ่านอีเบย์ ออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง ให้บริการโน้นนั่นนี่บนโซเชี่ยลมีเดีย สร้างบล็อค รายได้จากกูเกิ้ล อะเมซอน ฯลฯ เป็นเศรษฐีด้วยการลงทุนในหุ้น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวม ตลาดเงิน ฯลฯ หรือโฆษณาในเฟซบุ๊ค เว็บบอร์ด บล็อก แบนเนอร์ ก็เต็มไปด้วยงานที่ทำแล้วรวยแน่ เงินไหลเข้าราวกับเครื่องพิมพ์ธนบัตร นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์วันละไม่กี่ชั่วโมง ไม่ต้องออกไปหาลูกค้า ฯลฯ

"โอกาสรวย" มันเยอะจริงๆครับด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย โลกที่แคบลง ประเทศต่างๆเชื่อมถึงกันหมด สภาพแวดล้อมสังคมเศรษฐกิจก็เอื้ออำนวยต่างๆนานา และที่สำคัญ คนไม่เพียงมองเห็น แต่ยังนำแบ่งปัน บอกต่ออย่างกว้างขวาง แนะนำวิธีสอนขั้นตอนเสร็จสรรพละเอียดยิบ ชนิดทำตามเรียงบทที่ 1-2-3-4-5... จบเล่ม รวยเลย!!!

คำถามที่ต้องขบคิดต่อมาคือ "โอกาสรวย เยอะขนาดนี้ มีต้นแบบให้ก๊อปปี้ชัดเจนขนาดนี้ เราจะเลือกโอกาสไหนดี" หรือโอกาสมายมายจนลายตา มองเห็นจนเวียนหัว คิดไม่ตก เลือกไม่ได้ กลับไปทำงานประจำ รับเงินเดือนต่อก็แล้วกัน อ้าววว..

ผมเคยผ่านประสบการณ์งงงวยเพราะลายตาในร้านหนังสือมาแล้ว ควักกระเป๋ารวมแล้วหลายพันบาทเฉพาะหมวดธุรกิจ-การตลาด-พัฒนาตัวเอง-คอมพิวเตอร์ไอที อ่านเล่มนี้ ธุรกิจนี้ก็ดูดี อ่านเล่มโน้น งานนี้พารวยแน่ แต่ยังเก้ๆกังๆไม่ยอมตัดสินใจโยนพวงมาลัยเลือกและทำอะไรจริงจังเสียที จนต้องกลับมาตั้งหลัก เอา "ตัวเอง" เป็นตัวตั้ง แล้วค่อยหาธุรกิจอะไรที่น่าสนใจ รู้สึกรักรู้สึกชอบที่จะทำ ต่างกับแต่ก่อนที่ใช้ "ธุรกิจ" เป็นตัวตั้ง แล้วมองความเป็นไปได้

ครั้งนี้ใช้เวลาไม่นานก็ตัดสินใจได้ และเซอร์ไพรส์ กลับเป็น "ตัวเลือก" ที่มองข้ามมาตลอด แต่มาแรงแซงโค้งเข้าวินหน้าตาเฉย เป็นงานหรือธุรกิจที่ผมไม่เคยคิดด้วยซ้ำว่าจะทำ แต่ที่หยิบมาศึกษาหาหนังสือมาอ่านเพราะเพื่อนฝูงพยายามโน้มน้าวยกข้อดีต่างๆนานาให้จับธุรกิจตัวนี้ ชวนให้ไปนั่งฟังบรรยายแผนการตลาด รวมถึงพาไปซึมซับบรรยากาศงานฉลองผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพนี้ แต่เพราะทัศนคติส่วนตัว ทั้งที่มีต่อธุรกิจและอาชีพ จึงปิดประตูทุกครั้งที่โอกาสตัวนี้มาเคาะเรียก

ผมเลือก "ธุรกิจเครือข่าย" หรือ "เอ็มแอลเอ็ม" หรือที่คนไทยเรียกแบบเหมารวมว่าขายตรงนั่นแหละครับ

ผมเคยประมวลความคิดที่มาที่ไปของลักษณะการหารายได้รูปแบบต่างๆ ก่อนลงเอยที่ธุรกิจเครือข่ายไว้ในบล็อก http://tapanaone.blogspot.com เขียนเป็นมินิซีรี่ส์ 8 แปดตอนจบ ชื่อ MLM Series One ซึ่งคุณๆสามารถอ่านได้จากลิงค์ขวามือของบล็อก แต่ผมขอสรุปเหตุผลสั้นๆ ในการตัดสินใจจับธุรกิจเอ็มแอลเอ็มขณะที่อายุอานามจะแตกหลัก 50 ในปีหน้า ไว้ 3 ข้อดังนี้ครับ

1.
อยากทำงานที่มีรายได้แบบ passive
พักได้ หยุดได้ แต่ยังรับเงิน
ไม่ต้องรอเกษียณอายุหกสิบ
เลิกทำงาน แต่ยังมีรายได้


2.
อยากมีธุรกิจของตัวเอง
เป็นธุรกิจสำเร็จรูป พร้อมฮาว-ทู
ที่ลงทุนเบาๆ เสี่ยงน้อยๆ
ทำงานหนัก แต่ไม่ต้องทำจนแก่


3.
อายุอานามก็ใกล้ครึ่งศตวรรษ
วัยขนาดนี้ บ้าพลังไม่ไหวแล้ว
ขอเน้นสมองกับลูกเก๋าทำงาน
มีบริษัท, ระบบ, ทีมงานที่ดีช่วยหนุน


ภายหลัง มีโอกาสรับรู้ประโยคที่ประธานกรรมการบริษัทให้สัมภาษณ์ไว้ ก็ได้ใจของคนช่วงปลายวัยทำงานอย่างผมไปเต็มๆเลยครับ ท่านให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไว้ดังนี้

"เราเพียงทำให้เห็นว่าเป็นองค์กรทันสมัย ส่วนคนที่จะมาทำเป็นรุ่นใหม่รุ่นเก่า เราไม่ได้คาดหวัง แต่เราค่อนข้างเชื่อว่า คนรุ่นเก่าคือกำลังสำคัญ ทำอะไรก็สำเร็จ เพราะทำอะไรทำจริง ทำนาน และไม่เลิก เพราะผ่านประสบการณ์มาแล้ว ล้มไม่ได้แล้ว แต่ถ้าเป็นคนรุ่นใหม่ เข้าเร็วออกเร็ว ตัดสินใจเร็ว แล้วเลิก อีกสามวันไม่เอาแล้ว สิ่งนี้ก็เป็นปัญหาเช่นกันสำหรับบริษัทขายตรง ที่เจอกลุ่มคนนี้ ยอดอาจขึ้นเร็ว แต่แป๊บเดียวก็ร่วง"

หวังว่า ธุรกิจเครือข่ายจะเป็นหนึ่งในตัวเลือกของคุณนะครับ เรียนเชิญศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.elite-powerteam.com/tapana/ แล้วกรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อรับ username และ password เพื่อเข้าระบบ ... ขอรับรองครับ ผมจะไม่นำข้อมูลที่กรอกไปให้คนอื่นส่งอีเมล์สแปมรบกวนเด็ดขาด เพราะผมก็เกลียดอะไรแบบนี้เช่นกัน (แม้แต่แท็กชื่อใครในเฟซบุ๊คเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ ยังไม่ทำเลยครับ)

และถ้าอยากรู้จักเป็นการส่วนตัว ก็พบปะกันได้ที่เฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/tapana.jcteam นะครับ

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

ทำไมผมทำธุรกิจเครือข่าย?


ผมเขียนลำดับข้อมูล มุมมอง ความคิด
ก่อนตัดสินทำธุรกิจเครือข่าย

เป็นมินิซีรี่ส์ MLM แปดตอนจบ

(1) อุ่นใจเพิ่มรายได้หลายกระเป๋าเงิน
(2) เงินเพิ่มด้วยงานที่รักและชำนาญ
(3) Active Income ออกแรงถึงได้เงิน
(4) Passive Income อยู่เฉยๆ เงินวิ่งหา
(5) ธุรกิจทุนต่ำ เสี่ยงน้อย ได้ผลเร็ว
(6) AEC หนุน MLM ไทยทะลุแสนล้าน
(7) นักขาย MLM ทำงานหนัก รวยชัวร์
(8) เปลี่ยนแปลงชีวิตด้วย MLM

ลองอ่านนะครับจากลิงค์ขวามือ

ท่านเห็นด้วย ? หรือคิดต่าง ?

<> facebook.com/tapana.jcteam
<> elite-powerteam.com/tapana


MLM Series One : (8) เปลี่ยนแปลงชีวิตด้วย MLM

Money Loves Me Series One
ตอนที่ 8 : เปลี่ยนแปลงชีวิตด้วย MLM

มาถึงตอนสุดท้ายของซีรี่ส์ MLM : Money Loves Me แล้วครับ ... สำหรับผมแล้ว การเขียนซีรี่ส์นี้เหมือนเป็นการทบทวน ไตร่ตรอง และวิเคราะห์ องค์ความรู้ ความเข้าใจ และมุมมองต่างๆที่อยู่ในสมอง ไม่ได้มีจุดประสงค์หลักเพื่อโน้มน้าวให้คนอ่านเชื่อตาม แถมหวังจะได้รับประโยชน์ด้วยซ้ำหากมีโอกาสรับทราบความเห็นทั้งแง่บวกลบจากผู้อ่าน เป็นเสมือนได้รับการตรวจสอบความคิดจากอีกหลายๆสมอง

เกือบทั้งหมดของชีวิตทำงานที่ผ่านมา ผมเป็นมนุษย์เงินเดือนเต็มรูปแบบ วิกฤติจากบัตรเครดิตก็เคยเผชิญมาแล้ว บ่นบริษัทที่ใช้งานหนักไม่ยอมขึ้นเงินเดือน (แต่ยังนั่งทำงานรับเงินจากเขาต่อไป) พยายามหาจ็อบเพื่อกระเป๋ารายได้เสริม(ใบจิ๋ว) ทำธุรกิจเล็กๆ ขายของผ่านเน็ต สรุปคือ ผ่านประสบการณ์ฝั่งซ้ายของเงินสี่ด้านมาแล้วทั้ง E และ S

ช่วงหลัง ผมขยับตัวเองมาฝั่งขวา เริ่มต้นตั้งไข่ในฐานะคนจำพวก I เริ่มจากลงทุนเล็กๆน้อยๆในทองคำ พันธบัตร กองทุนรวม และหุ้น ล่าสุดเอาเวลาอีกส่วนหนึ่งมาเป็น B หันจับมาธุรกิจการตลาดเครือข่ายหรือเอ็มแอลเอ็ม หลังจากโดนชักชวนให้เข้านั่งฟังบรรยาย OPP และ Super OPP มานาน แต่ใจไม่เปิดรับจนกระทั่งได้อ่านหนังสือ "เงินสี่ด้าน" (ได้อ่านแบบบังเอิญเสียด้วย เห็นน้องคนหนึ่งมีหนังสือ เลยยืมมาอ่านไปงั้นๆ) ส่วน I เป็นมาก่อนอ่านหนังสือเล่มนี้

เหตุผลที่ตัดสินใจเป็นนักธุรกิจอิสระบนถนนเอ็มแอลเอ็ม เบื้องต้นคงเหมือนคนส่วนใหญ่ที่ถ้าจะทำงานหนักทั้งที ต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับงานอะไรสักอย่าง น่าจะเป็นธุรกิจของตัวเอง ยิ่งลงทุนน้อย เสี่ยงน้อย และใช้เวลาน้อยในการประสบความสำเร็จยิ่งดีใหญ่ พร้อมพกความมั่นใจว่าถ้าทำงานหนักเหมือนสมัยเป็นมนุษย์เงินเดือน ความมั่นคงและอิสรภาพทางการเงินเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอน

อีกเหตุผลค่อนข้างส่วนตัว เพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดที่เคยสร้างไว้เอง ... หลังเรียนจบปริญญาตรี ผมเคยคิดว่ามีสองอาชีพที่ไม่ทำแน่ๆคือ ครู กับ เซลส์ เพราะไม่ถนัดสื่อสารด้วยคำพูด ไม่ชอบอธิบายอะไรยาวๆ ไม่ชอบพูดต่อหน้าคน ไม่ชอบโน้มน้าวชักจูง ฯลฯ และยังคงนึกคิดแบบนี้นานร่วมสามสิบปี จนมีโอกาสอ่านหนังสือ "โรงเรียนสอนธุรกิจ" หนึ่งในซีรี่ส์พ่อรวยสอนลูกของ โรเบิร์ต คิโยซากิ ซึ่งเขียนถึง "โอกาส 8 ข้อ" ที่จะได้รับถ้าทำงานธุรกิจเครือข่าย ข้อแรกและข้อสุดท้ายนี่แหละสะกิดใจผม ... หนึ่ง โอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิต (เปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ร่างกาย และจิตวิญญาณ) และสอง โอกาสในการพัฒนาทักษะผู้นำ



คุณสามารถพัฒนาตัวเองด้วยการเข้ามาทำเอ็มแอลเอ็ม ผ่านคอร์สอบรมพัฒนาของบริษัท ผ่านการศึกษาใฝ่รู้ของตัวเอง ผ่านหน้าที่การงานปกติของนักขาย และผ่านประสบการณ์จริง ... อะไรคือคุณสมบัติจำเป็นถ้าจะประสบความเร็จในธุรกิจนี้ ตัวอย่างเช่น ทัศนคติสู่ความสำเร็จ ทักษะการเป็นผู้นำ ทักษะในการสื่อสาร ทักษะในการพบปะผู้คน การเอาชนะความกลัว ความสงสัย ความไม่มั่นใจในตัวเอง การเอาชนะความกลัวจากคำปฏิเสธ ทักษะการสร้างความน่าเชื่อถือ ทักษะการบริหารเงิน การลงทุน การบริหารเวลา การจัดระบบ เป็นต้น ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นกับคุณทุกขณะที่ลงมือทำงานเอ็มแอลเอ็ม (แบบทุ่มเทตั้งใจ..ขอเน้น)

หลายบริษัทขายผลิตภัณฑ์จำพวกอาหารเสริม ซึ่งปกตินักธุรกิจอิสระจำเป็นต้องซื้อกินซื้อใช้เองอยู่แล้ว ทั้งเพื่อรักษายอดสถานภาพ และเพื่อจะได้นำผลลัพธ์ที่ดีไปบอกต่อลูกค้า ตรงนี้เองจะช่วยให้สุขภาพดีขึ้นอีกทาง (ว่ากันว่าแบบทีเล่นที่จริง อย่าซื้อสินค้าพวกนี้จากนักขายที่หน้าตาหมองคล้ำหรือรูปร่างเหมือนคนป่วย เพราะคงทำอาชีพนี้แบบไม่เอาจริงเอาจัง หรือไม่ก็สินค้าคุณภาพไม่ได้เรื่อง)

เพียงแค่ก้าวแรกๆของอาชีพนักธุรกิจเอ็มแอลเอ็ม เชื่อว่าจะสัมผัสถึงความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นแน่นอน มันดีขนาดไหนที่ได้ทำงานที่ทั้งได้เงินดี สามารถพาไปถึงจุดมั่นคงมีอิสรภาพทางการเงิน แถมสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเราเองได้มากขนาดนี้ทั้งอารมณ์ ร่างกาย และจิตวิญญาณ (ความรู้สึกนึกคิดทัศนคติที่ฝั่งลึกภายในจิตใจ)

สำหรับทุกท่านที่อยากย้ายมาอยู่ซีกขวาของเงินสี่ด้าน ในภาคของ I หรือ/และ B ขอชวนมาแลกเปลี่ยนแบ่งปันแนวคิดมุมมอง เพื่อเดินร่วมกันเส้นทางเดียวกัน และขยับเข้าสู่ความสำเร็จที่รออยู่ข้างหน้าใกล้ๆครับ ที่อีเมล์ tapanaONE@gmail.com หรือถ้าอยากรู้จักธุรกิจเอ็มแอลเอ็มที่ผมทำอยู่ เชิญคลิกลิงค์ http://www.elite-powerteam.com/tapana/

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

MLM Series One : (7) นักขาย MLM ทำงานหนัก รวยชัวร์

Money Loves Me Series One 
ตอนที่ 7 : นักขาย MLM ทำงานหนัก รวยชัวร์


ทำงานเดือนเดียวได้หลักพัน, หกเดือนได้หลักหมื่น, หนึ่งปีกว่าๆได้หลักแสน, สี่ปีรับหลักล้าน แถมมีโอกาสเที่ยวรอบโลก จ่ายจริง รับจริง เกษียณได้ไม่ต้องรออายุหกสิบ เลิกทำงาน แต่รายได้ยังไม่หยุด ไหลเข้าบัญชีต่อเนื่อง มีความมั่นคงมีอิสรภาพทางการเงิน ฯลฯ เป็นประโยคที่ได้ยินคุ้นหูเวลาใครชักชวนให้ไปทำธุรกิจเครือข่ายหรือเอ็มแอลเอ็ม

งานอะไรได้เงินง่ายขนาดนั้น เป็นเครื่องพิมพ์ธนบัตรหรือไร เทียบกับมนุษย์เงินเดือนอย่างคนส่วนใหญ่ที่ทำงานตัวเป็นเกลียวหัวเป็นน็อต ลุ้นจนตัวโก่งหวังให้บริษัทขึ้นเงินเดือนแค่ไม่กี่เปอร์เซนต์ในแต่ละปี ถ้าได้โบนัสเหมือนถูกลอตเตอรี่เลขท้ายสองตัว เงินเดือนเหลือพอใช้ถึงปลายเดือนถือว่าเหลือเชื่อ เงินเก็บไม่ต้องพูดถึง ไม่เหลือหนี้ค้างบัตรเครดิตนับว่าเก่ง เพราะความคุ้นเคยวงจรชีวิตเงินๆทองๆแบบนี้เองครับ ที่คำโฆษณาข้างต้นของธุรกิจเอ็มแอลเอ็มจึงดูไม่ชอบมาพากล เสี่ยงเป็นเหยื่อของพวกสิบแปดมงกุฎ ได้ยินปุ๊บ โบกมือไล่ปั๊บ

แต่ความเป็นจริงคือ "มันเป็นไปได้จริง" และที่สำคัญแต่ละองค์กรในแวดวงเอ็มแอลเอ็ม ผู้ประสบความสำเร็จระดับนั้นมีมากกว่าบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยม คือ พนักงานธรรมดาเปรียบได้กับฐานที่กว้างใหญ่ แต่ผู้บริหารสูงสุดเป็นยอดแหลมของสามเหลี่ยม ขณะที่ยอดของบริษัทเอ็มแอลเอ็มจะมีทรงสามเหลี่ยนหัวตัด บนยอดมีพื้นที่ให้คนเดินมากมาย ไม่ใช่แค่ขึ้นไปยืนปักธงแห่งความสำเร็จอย่างเดียวดาย หรือไม่กี่คนแบบธุรกิจส่วนใหญ่

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? คำตอบมีอยู่ แต่อยากเชื้อเชิญเข้าไปศึกษาหาความจริงเอาเอง สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น จุดนี้เพียงอยากบอกถึงหลักสำคัญที่ธุรกิจเครือข่ายนำไปใช้กระจายผลตอบแทนคือ "หลักการผ่อนแรง" ซึ่ง พอล เก็ตตี้ (Paul Getty) มหาเศรษฐีพันล้านคนแรกของโลก กล่าวไว้ว่า "ผมยินดีครับผลตอบแทนหนึ่งเปอร์เซนต์จากการทำงานของคนร้อยคน มากกว่าได้รับผลตอบแทนร้อยเปอร์เซนต์จากการทำงานของผมเพียงคนเดียว" เวลาฟังแผนธุรกิจของบริษัทเอ็มแอลเอ็ม จะเข้าใจประโยคนี้ได้ชัดเจนขึ้น

กลับมาที่่ประโยคชวนเชื่อในย่อหน้าแรก บางคนได้ยินได้อ่าน ก็ออกอาการยี้ลงกระเพาะทันที ไม่มีหรอกงานได้เงินเยอะๆง่ายๆแบบนี้ ลวงโลก ต้มตุ๋น สิบแปดมงกุฏแน่ๆ แต่กลับใช้ได้ผลกับบางคน ที่หูผึ่งตาลุกวาว เห็นช่องทางเศรษฐีอยู่ร่ำไร กระโจนเข้าสู่ธุรกิจนี้แบบไม่ต้องคิดหน้าห่วงหลังทันที ผลคือไม่กี่เดือนถัดจากนั้นมักรู้สึกเสียเงิน เสียเวลา เสียความรู้สึก มองเอ็มแอลเอ็มในแง่ลบ นำประสบการณ์ไปบอกต่อแบบเสียๆหายๆ เพราะไม่เห็นได้เงินเป็นชิ้นเป็นอันเลย แถมเสียเงินค่าสมัคร คอร์สอบรม สินค้าผลิตภัณฑ์ของบริษัทเพื่อรักษาสถานภาพ บลาๆๆๆ

บริษัทที่ทำธุรกิจเครือข่ายแบบฉ้อฉลมีอยู่ไม่น้อย หรือบางบริษัทก็สร้างฝันหวานให้เหล่าแมงเม่าด้วยการเขียนแผนธุรกิจจ่ายผลตอบแทนสวยหรู แต่เอาเข้าจริงจ่ายไม่ได้ หรือจ่ายได้แค่ 2-3 ปี ก็ปิดกิจการ บางบริษัทใช้ลูกเล่นหมกเม็ดเงื่อนไขยากๆจนนักขายปีนบันไดไปไม่ถึงเป้า พวกนักธุรกิจรุ่นพี่เขี้ยวลากดินก็มีส่วนทำให้วงการเอ็มแอลเอ็มด่างพร้อยเสียชื่อเสียง เอาแต่ต้อนนักขายน้องใหม่เข้าสายงาน ไม่ดูแลช่วยเหลือปล่อยไปตามยถากรรม ส่วนตัวเองก็รับเงินเปอร์เซนต์จากจำนวนนักขายที่อยู่ใต้สายงาน พอโกยรายได้สมใจ ก็ปัดก้นลุกหนีไปเริ่มวงจรใหม่กับบริษัทอื่น

ดังนั้น ใครสนใจทำขายตรงต้องพิจารณาบริษัทที่จะฝากอนาคตฝากชีวิต ต้องเลือกกันดีๆ ศึกษาหาข้อมูลแบบเจาะลึก รับฟังความเห็นของผู้มีประสบการณ์ ซึ่งวิธีง่ายหน่อยก็อาศัยกูเกิ้ล ค้นหาคำตอบเอา แต่ต้องเทียบกันหลายๆมุมมองทั้งบวกและลบ เพราะการโพสต์โจมตีทำลายบริษัทคู่แข่งก็มีอยู่ไม่่ใช่น้อย

ถ้าเลือกต้นสังกัดแบบเสี่ยงน้อย คงต้องฝากผีฝากไข้กับบริษัทเอ็มแอลเอ็มที่ดำเนินธุรกิจนานนับสิบๆปี มีความโปร่งใส มีธรรมภิบาล มีข่าวเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนสม่ำเสมอ มีธุรกิจแผนการตลาด จ่ายผลตอบแทนที่ชัดเจนยุติธรรมไม่เว่อร์ สินค้าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเชื่อถือได้ ยิ่งเป็นบริษัทในลิสต์ผู้ประกอบการธุรกิจขายตรงที่ได้รับใบอนุญาตจาก สคบ. (สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) ก็น่าอุ่นใจมากขึ้น

หากได้ร่วมงานกับบริษัทดี ต้องบอกว่า คำชวนเชื่อข้างต้นไม่เกินความจริง มีนักขายนักธุรกิจอิสระในสังกัดที่ประสบความสำเร็จถึงจุดนั้นหลายคน แต่มีอีกประเด็นที่ต้องตระหนัก แม้เอ็มแอลเอ็มจะลงทุนต่ำ เสี่ยงน้อย และใช้เวลารวดเร็วเมื่อเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่หรือแฟรนไชส์ แต่การทำงานที่ทุ่มเท ตั้งใจจริง ศึกษาหาความรู้ พัฒนาทักษะความสามารถ ไม่ย่อท้ออุปสรรค อดทนต่อคำปฏิเสธถากถาง ฯลฯ ยังเป็นปัจจัยชี้เป็นชี้ตายของคนในอาชีพนี้เช่นกัน อย่าคิดว่าเอ็มแอลเอ็มเป็นเส้นทางสบายๆที่นำเราไปสู่ความมั่นคงและอิสระทางการเงิน

ถ้าคิดแบบนั้น ลุ้นรางวัลจากสลากกินแบ่งรัฐบาล ยังเป็นเส้นทางที่สบายกว่า ลงทุนน้อย ไม่โดนโกงแน่ แถมยังสามารถทำงานประจำต่อไปได้ด้วย ^^

MLM Series One : (6) AEC หนุน MLM ไทยทะลุแสนล้าน

Money Loves Me Series One
ตอนที่ 6 : AEC หนุน MLM ไทยทะลุแสนล้าน



จะว่าไปแล้ว ขายตรง (Direct Sell) เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยมาเนิ่นนาน เราเคยปฏิเสธที่จะซื้อสารานุกรม เครื่องกรองน้ำ ภาชนะพลาสติก แหวนเพชรพลอย ประกันชีวิต ฯลฯ มาแล้วทั้งนั้น ทุกวันนี้โฆษณาขายของทางโทรทัศน์ ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของขายตรง การตลาดแบบตัวแทน (Affiliate Marketing) บนเว็บไซต์และโซเชียลเนตเวิร์คต่างๆก็ใช่ ช่วงหลายทศวรรษขายตรงได้รับการพัฒนาในเรื่องกระจายสินค้า ผลตอบแทน ระบบการบริหารจัดการ บุคลิกลักษณะคำพูดในการเสนอขาย ซึ่งบางครั้งดูสลับซับซ้อน เต็มไปด้วยเทคนิคเชิงวิชาการ ประโยคโฆษณาเชิญเชื้อเหนือจริง จนดูไม่น่าไว้วางใจ บวกกับการเสนอขายแบบประชิดตัว จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่คนทั่วไปจะมีสัญชาตญาณป้องกันตัวด้วยการปิดกั้น

เชื่อหรือไม่ครับ ธุรกิจการตลาดแบบเครือข่าย (Network Marketing Business) หรืออีกชื่อหนึ่งที่คุ้นเคยคือ เอ็มแอลเอ็ม (Multi-Level Marketing) ซึ่งใครต่อใครรู้สึกแง่ลบ กลับเป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับในหลายประเทศ รวมถึงชาติมหาอำนาจหรือพัฒนาแล้วในโลกธุรกิจ มีผู้คนยึดเป็นอาชีพคิดคร่าวๆประมาณหนึ่งเปอร์เซนต์ของประชากรโลก สร้างรายได้เงินหมุนเวียนจำนวนมหาศาล ซึ่งในมุมกลับ จำนวนนักขายและรายได้มากขนาดนี้ ย่อมบ่งชี้ว่ามีคน(ยอม)ซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ขายตรงมากเช่นกัน

ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อปี 2555 ทั่วโลกมีนักขายตรงราว 91.5 ล้านคน หรือประมาณหนึ่งเปอร์เซนต์ของประชากรโลก (เจ็ดพันล้านคน) และในปีเดียวกัน พวกเขาช่วยกันสร้างยอดขายมหาศาลถึง 1.6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 4.8 ล้านล้านบาท ยิ่งถ้ามองเฉพาะชาติยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา ระหว่างปี 2549-2552 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจของเมืองลุงแซมตกต่ำอย่างหนัก ธุรกิจเครือข่ายยังเติบโตทางตัวเลขรายได้ เช่น 1.14 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2550 และ 1.17 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2552

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีตลาดเอ็มแอลเอ็มใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก คิดเป็นสัดส่วนยี่สิบเปอร์เซนต์ของทั้งโลก ตามด้วยสามชาติเอเชีย ญี่ปุ่น สิบหกเปอร์เซนต์, จีน สิบเอ็ดเปอร์เซนต์ และเกาหลีใต้ แปดเปอร์เซนต์ อันดับห้าตกเป็นของบราซิล แปดเปอร์เซนต์ มียอดขายต่ำกว่าเกาหลีใต้ราว 90 ล้านเหรียฐสหรัฐ ขณะที่สมาคมสมาพันธ์การขายตรงโลก (World Federation of Direct Selling Association) สำรวจพบว่า นักธุรกิจขายตรงชุมนุมอยู่ในทวีปเอเชียมากที่สุดคือ 52 ล้านคน รองลงมาได้แก่ อเมริกาเหนือ 16.3 ล้านคน ขณะที่แอฟริกาใต้น้อยที่สุด ยังมีถึง 1.4 ล้านคน

เมืองไทยมีตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการของผู้ที่ประกอบอาชีพธุรกิจขายตรงอย่างจริงจังอยู่ที่ 5.4 ล้านคน หรือประมาณ 8.1 เปอร์เซนต์ของฐานประชากร (67 ล้านคน) สามารถสร้างยอดขายรวมกันได้ถึง 8.3 หมื่นล้านบาท แถมแต่ละปียังมีอัตราเติบโตในระดับ 5-7 เปอร์เซนต์ เอ็มแอลเอ็มนับเป็นธุรกิจและอาชีพที่มีอนาคตสดใสทีเดียว

อีกประเด็นที่น่าสนใจ บริษัทเอ็มแอลเอ็มในบ้านเรา ไม่ได้มีเพียงคนไทยทำเท่านั้น แต่มีชาวต่างด้าวเข้ามาประกอบอาชีพนักขายอย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วย ซึ่งก็ล้วนเป็นเพื่อนบ้านชายแดนติดกันอย่างพม่า ลาว และกัมพูชา ตัวอย่างจากตัวเลขของบริษัทซูเลียน ชาวพม่ามีจำนวนเป็นอันดับหนึ่งประมาณ 5,000 คน สามารถทำยอดขายตกเดือนละหลายสิบล้านบาท นอกจากนี้ในงานประชุม OPP ของค่ายใหญ่ๆอย่าง จอย แอนด์ คอย, คังเซน-เคนโก, ยูนิซิตี้, นีโอไลฟ์, กิฟฟารีน ล้วนมีชาวพม่า ลาว และกัมพูชา เข้ามาร่วมฟังโอกาสทำเงินและพัฒนาคุณภาพชีวิตมากมาย

ผมเคยเข้าฟังงาน OPP สองบริษัท มีชาวกัมพูชาเดินทางข้ามประเทศมาฟังถึงจังหวัดชลบุรี พวกเขาพูดฟังภาษาไทยได้ระดับหนึ่ง เขียนอ่านไม่ได้ แต่ยังขวนขวายหาช่องทางทำมาหากิน อุตส่าห์เดินทางมาไกลๆถึงต่างบ้านต่างเมือง

มีนักวิเคราะห์คาดการณ์อนาคตธุรกิจเครือข่ายในยุคเออีซี (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน) ซึ่งสิบประเทศในกลุ่มเออีซีมีประชากรรวมกันกว่า 600 ล้านคน ในปี 2558 ว่า ยอดขายในไทยอาจทะลุหลักแสนล้านต่อปีทีเดียว เพราะช่วงสิบปีที่ผ่านมา บางบริษัทได้รุกเข้าไปเปิดตลาดลาว พม่า กัมพูชา รวมถึงเวียดนามบ้างแล้ว ไม่นับการซื้อขายช่วงรอยตะเข็บของชายแดน ขณะที่เพื่อนบ้านเองก็เข้ามาศึกษาสินค้าผลิตภัณฑ์ ระบบธุรกิจการจ่ายผลตอบแทน เข้ารับอบรมเบื้องต้นขั้นกลางระดับสูงกันอย่างขมักเขม้น เพราะพวกเขามองเห็นโอกาสจนสามารถข้ามอคติเกี่ยวกับธุรกิจเครือข่ายไปได้

เชื่อว่า เออีซีจะสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับวงการเอ็มแอลเอ็ม เป็นรถด่วนสายธุรกิจอีกขบวนหนึ่งที่น่าร่วมเดินทางไปด้วย สองปีเป็นเวลานานพอสมควรที่จะเข้ามาศึกษาและทำธุรกิจเครือข่าย อย่างที่ โรเบิร์ต คิโยซากิ เจ้าของหนังสือซีรี่ส์ "พ่อรวยสอนลูก" บอกไว้ "ยังมีงานของผู้ประกอบการธุรกิจ ที่ลงทุนต่ำ เสี่ยงน้อย ใช้เวลารวดเร็ว และสามารถทำงานประจำต่อไปด้วย" นั่นคือ เอ็มแอลเอ็ม ^^

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

MLM Series One : (5) ธุรกิจทุนต่ำ เสี่ยงน้อย ได้ผลเร็ว

Money Loves Me Series One
ตอนที่ 5 : ธุรกิจทุนต่ำ เสี่ยงน้อย ได้ผลเร็ว


โรเบิร์ต คิโยซากิ เจ้าของหนังสือซีรี่ส์ดัง "พ่อรวยสอนลูก" บอกว่า มนุษย์เงินเดือน (E) สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจ (B) ด้วยงานที่ลงทุนต่ำ เสี่ยงน้อย ใช้เวลารวดเร็ว และยังทำงานประจำต่อไปได้อีก ... เห็นทางออกสู่ความมั่นและอิสรภาพทางการเงินแล้ว!!!

เขาสาธยายแจกแจงถึงเจ้าของธุรกิจว่ามีอยู่สามประเภท หนึ่งจากการสร้างบริษัทใหญ่ๆเช่น เดลล์คอมพิวเตอร์ หรือฮิวเลตต์แพคคาร์ด ซึ่งเริ่มต้นในหอพักนักศึกษาและในโรงรถ สองจากการซื้อระบบแฟรนไชส์มาบริหารอย่างแม็คโดนัลด์ สองประเภทดังกล่าวใช้เงินลงทุนก้อนโต ต้องใช้ทักษะความรู้ความสามารถประสบการณ์ทางธุรกิจ การตลาด การบริหาร การเงิน ฯลฯ  ต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจ ต้องกระโดดลงไปทำธุรกิจช่วงเริ่มต้นอย่างเต็มเวลา และเต็มไปด้วยความเสี่ยง อาจต้องเผชิญหน้ากับความเจ็บปวดความทุกข์ ก็เพราะแบบนี้ มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่จะสบายใจกว่าที่ผันตัวเองไปเป็นเพียงเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ (S)

มาถึงธุรกิจประเภทที่สามของ B ที่ลงทุนต่ำ เสี่ยงน้อย ใช้เวลารวดเร็ว และยังมีเงินจากงานประจำเข้าบัญชีธนาคารทุกเดือนให้อุ่นใจ นั่นคือ "ธุรกิจการตลาดแบบเครือข่าย" (Network Marketing Business) หรือที่บ้านเราเรียกเหมารวมว่า "ขายตรง" แม้ความหมายไม่ตรงเสียทีเดียว มีความแตกต่างปลีกย่อยหลายจุด

ขายตรงเป็นอาชีพที่ใครๆรู้สึกยี้ ปิดประตูไม่ต้อนรับ พลักไสให้ไปไกลๆนี่แหละครับ โรเบิร์ต คิโยซากิ กลับมองว่าเป็นหนทางสร้างรายได้แบบ Passive Income เขาถึงขนาดแยกเขียนธุรกิจการตลาดแบบเครือข่ายออกมาหนึ่งเล่มเต็มๆชื่อ Rich Dad's the Business School for People who Like Helping People หรือชื่อไทย "โรงเรียนสอนธุรกิจ สำหรับคนที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น" หนาประมาณสองร้อยหน้า

เขาเขียนเล่มนี้ขึ้นมาเป็นลำดับที่ห้าของซีรี่ส์ "พ่อรวยสอนลูก" แนะนำให้ผู้คนก้าวเข้าสู่ธุรกิจการตลาดแบบเครือข่ายทั้งที่ตัวเองไม่ได้ร่ำรวยขึ้นมาจากธุรกิจนี้ ว่ากันตามจริงเมื่อปี 1970 ช่วงที่เขากำลังก่อร่างสร้างตัว ทำทั้งงานประจำและธุรกิจส่วนตัว เพื่อนเคยชักชวนเขาให้เข้ามาทำธุรกิจดังกล่าว แต่เขาก็ไม่ได้สนใจและยอมรับว่า ไม่ได้คิดถึงธุรกิจการตลาดแบบเครือข่ายอีกเลยจนกระทั่งอีกสิบห้าปีต่อมา

โรเบิร์ต คิโยซากิ กล่าวว่า "การเป็นคนร่ำรวยไม่ใช่จะทำกันง่ายๆ กว่าผมจะเรียนรู้และได้ประสบการณ์จนสร้างธุรกิจสำเร็จขนาดนี้ ต้องใช้เวลามากกว่าสามสิบปี ต้องพบกับความล้มเหลวสองครั้ง แต่ธุรกิจการตลาดแบบเครือข่ายจะมอบ 'ระบบธุรกิจสำเร็จรูป' แก่ผู้คนที่ต้องการควบคุมอนาคตทางการเงินของตัวเอง"

กุญแจดอกสำคัญไขสู่ความสำเร็จ ก็อยู่ในชื่อธุรกิจนี้อยู่แล้ว คือ "เครือข่าย" ... หลายคนใช้ประโยชน์จากพลังของเครือข่าย บางคนพึ่งพามันโดยไม่รู้สึกตัว บางคนรู้จักมันในชื่อ Connection อาศัยเลือดสีเดียวกันผ่านโรงเรียน มหาวิทยาลัย ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน หลายคนเสียเงินลงเรียนหลักสูตรเพื่อสร้างคอนเน็คชั่นหรือสายสัมพันธ์ แฟรนไชน์อย่างร้านสะดวกซื้อเลข 7 รถเข็นบะหมี่เลข 4 ล้วนประสบความสำเร็จด้วยเครือข่าย เครือข่ายโทรศัพท์มือถือนี่ก็ใช่ คำว่า "ขยายเครือข่าย" ผ่านหูเราบ่อยครั้งจนไม่รู้สึกอะไร แต่เจ้าของธุรกิจตระหนักดีว่า เป็นตัวทำให้ประสบความสำเร็จ

"พ่อรวย" เคยพูดกับโรเบิร์ต คิโยซากิ ว่า "คนรวยมองหาวิธีสร้างเครือข่าย ขณะที่คนทั่วไปมองหางานทำ" ขณะที่นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นอเมริกันผู้นี้เองก็บอกว่า "หลายบริษัทในอุตสหกรรมการตลาดแบบเครือข่าย พยายามเลี่ยงที่จะใช้คำว่า 'การตลาดแบบเครือข่าย' เพราะรู้สึกความหมายไปในทางลบ แต่ 'เครือข่าย" นี่แหละเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จทางด้านการเงินอย่างแท้จริง"


กูรูทางการเงินรับประกันขนาดนี้ น่าจะลองเปิดใจทำความรู้จักธุรกิจการตลาดแบบเครือข่ายสักยกสองยก ถ้ายังยี้อีก ก็โบกมือร่ำลา หันหลังกลับไปทำงานประจำรับเงินเดือนต่อไปยังได้ (ผมเคยยี้มาก่อน หลายครั้งด้วย) ... แต่อย่าลืม คุณสามารถทำธุรกิจการตลาดแบบเครือข่ายพร้อมกับงานประจำ ^^

MLM Series One : (4) Passive Income อยู่เฉยๆ เงินวิ่งหา

Money Loves Me Series One
ตอนที่ 4 : Passive Income อยู่เฉยๆ เงินวิ่งหา


ร่วมดีใจอีกครั้งครับที่คุณสามารถหากระเป๋าเงินเสริมได้แล้วอย่างน้อยหนึ่งใบ แต่คงดีกว่าแน่ๆถ้าเงินไหลเข้ากระเป๋าใบนั้น โดยที่คุณไม่ต้องทำงาน ซึ่งฝรั่งใช้ศัพท์ว่า Passive Income และ โรเบิร์ต คิโยซากิ เจ้าของหนังสือซีรี่ส์ดัง "พ่อรวยสอนลูก" (Rich Dad Poor Dad) เขียนไว้ในเล่มที่ชื่อว่า "เงินสี่ด้าน" (Rich Dad's Cashflow Quadrant) ว่า มีคนสองจำพวกใหญ่ๆที่ "ไม่ต้องออกแรง ก็ได้เงิน" คือ เจ้าของธุรกิจ (Business) และ นักลงทุน (Investor)

เราคุ้นเคยกันดีกับความเป็น "เจ้าของธุรกิจ" ที่รับรายได้จากกิจการที่ตนเองเป็นเจ้าของ ซึ่งขนาด เงินลงทุน เงินหมุนเวียน ผลประกอบการของกิจการนั้นๆ อาจไม่ใข่สาระสำคัญ ต่อให้เป็นธุรกิจเรือนแสนหรือล้านต้นๆ ยังจัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้หากเจ้าของสร้างระบบขึ้นมา รับลูกจ้าง (Employee) เข้ามาทำงานตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ รวมถึงผู้จัดการหรือผู้บริหารสูงสุด ที่คอยดูแลกิจการแทนขณะที่เจ้าของสามารถไปไหนทำอะไรได้อย่างอิสระ ขณะที่เงินยังไหลเข้ากระเป๋าตามปกติ ต่างกับเจ้าของธุรกิจระดับร้อยล้านพันล้าน แต่ถ้ายังต้องลุยงานลงแรงเองตลอด ซึ่ง โรเบิร์ต คิโยซากิ ยังจัดให้อยู่ในกลุ่มเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ (Small Business / Self-employed) อยู่ดี

กลุ่มสุดท้าย "นักลงทุน" ซึ่งในอดีตเป็นเรื่องไกลเกินตัวสำหรับคนทั่วไป แต่ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กระแสลงทุนมาแรง โดยเฉพาะลงทุนในตลาดหุ้นที่เป็นช่วงกระทิง(ขาขึ้น) มีเศรษฐีหน้าอ่อนเกิดขึ้นมากมาย มีพ็อกเก็ตบุ๊คแนะเล่นหุ้นออกมาไม่ขาดสาย ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า รวมทั้งหนังสือลงทุนรูปแบบอื่นๆ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ กองทุนรวม ทองคำ อสังหาริมทรัพย์

การลงทุนจึงเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้ว ไม่ใช่กิจกรรมของคนรวยอีกต่อไป คนทั่วไปสามารหาข่าวสารข้อมูลความรู้มาเป็นอาหารสมองได้ง่าย กระทั่งลงทุนในตลาดหุ้น ก็ซื้อขายแค่ไม่กี่คลิกผ่านโน้ตบุ๊คสมาร์ทโฟน ทำที่ไหนก็ได้ที่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต ลงทุนกับหุ้นแต่ละตัวก็ไม่ต้องใช้เงินมากมาย (เป็นพันหรือหมื่นต้นๆก็ได้ แต่ไม่คุ้ม) หรือซื้อหุ้นแบบสะสม เลือกบริษัทที่พื้นฐานดี ผลประกอบการเด่น มีเงินปันผลทุกปี และยังมีอนาคตสดใส แล้วซื้อหุ้นด้วยจำนวนเงินเท่ากันทุกเดือน ไม่ต้องสนใจราคาหุ้นขณะนั้นขึ้นหรือลง (แต่ต้องติดตามข่าวคราวด้วย เพราะพระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก บริษัทอาจมีอันเป็นไปแบบไม่คาดฝัน)

สำหรับผู้ที่ไม่เวลาศึกษาหรือติดตามข่าวสาร ก็ใช้วิธีลงทุนกับกองทุนรวมหุ้น เป็นการเอาเงินไปให้มืออาชีพผู้เชี่ยวชาญ(ธนาคาร)ลงทุนแทน จะซื้อขายหุ้นตัวไหน กลุ่มธุรกิจอะไร ที่ราคาเท่าไร ฯลฯ โดยใช้วิธีซื้อสะสมหน่่วยลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่าเดิมทุกเดือนเช่นกัน แต่ถ้ากลัวความไม่แน่นอนผันผวนของตลาดหุ้น ก็สามารถลงทุนกับกองทุนรวมรูปแบบที่ปลอดภัย (แต่ผลตอบแทนอาจน้อยกว่า) อย่าง ตราสารหนี้ ตลาดการเงิน อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีความเสี่ยงน้อยกว่าพวกหุ้น นอกจากนี้ลงทุนด้วยการซื้อสิ่งก่อสร้างแล้วปล่อยเช่า บ้าน ทาวน์เฮาส์ ตึกแถว คอนโด หรือที่ดิน ก็เป็นเรื่องคนไทยนิยมทำกัน ยังมีวิธีลงทุนอีกมากมาย ต้องศึกษาเพื่อตัดสินใจว่า รูปแบบไหนถูกจริตหรือเงินทุนของเรา

ปัจจุบันพบว่า แต่ละเดือนผู้มีรายได้ประจำจะแบ่งเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนหุ้น กองทุนรวม ทองคำ เพราะผลิดอกออกผลเบ่งบานกว่าฝากธนาคารกินดอกเบี้ย ซึ่งแค่ไม่กี่เปอร์เซนต์ต่อปี แถมยังโดนหักภาษี และถ้าเอาเงินเฟ้อไปคิดด้วย แทบไม่เหลืออะไร อย่างไรก็ดีแม้เป็นการใช้เงินทำงาน แต่ด้วยเงินต้นที่น้อย จึงต้องใช้เวลาหลายปี กว่าไปถึงจุดอิสรภาพทางการเงิน ต่างกับพวกที่พกเงินถุงเงินถังอย่างเจ้าของธุรกิจ ซึ่งผลตอบแทนจะเพิ่มพูนได้มากและรวดเร็วถึงระดับไม่ต้องออกแรงก็ได้เงินที่มากพอจนรู้สึกมั่นคงและมีอิสรภาพทางการเงิน

มองเห็นแบบนี้แล้ว E อย่างเราๆท่านๆ ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของประชากรโลก คงอยากข้ามฟากเงินสี่ด้านมาเป็น B เพื่อรับเงินแบบ Passive Income ก่อนควบตำแหน่ง I อีกทาง

โรเบิร์ต คิโยซากิ ให้ความเห็นว่า ในความเป็นจริงแล้วยาก ส่วนใหญ่เปลี่ยนได้แค่เป็น S ซึ่งยังมีรายรับแบบ Active Income อยู่ดี เพราะมันไม่ง่ายเหมือนเปลี่ยนอาชีพเปลี่ยนงาน ธุรกิจขนาดใหญ่อย่างที่ทำกัน เงินทุนไม่ใช่เงื่อนไขเดียว แต่ยังต้องทุ่มเททั้งกำลังใจ กำลังกาย ความอดทน เวลา และที่สำคัญ ต้องล้วงลงไปถึงแก่นแท้จิตวิญญาณ เปลี่ยนวิธีคิดการมองโลกกันเลยทีเดียว (อ่าน "เงินสี่ด้าน" แล้วจะเห็นว่า E และ S มีความคิดความอ่านอารมณ์ความรู้สึกต่างกับ B และ I อย่างสิ้นเชิง)

มาถึงบรรทัดนี้ มนุษย์เงินเดือนอย่าเพิ่งท้อเพราะ โรเบิร์ต คิโยซากิ บอกด้วยว่า "ยังมีงานของ B ที่ลงทุนต่ำ เสี่ยงน้อย และใช้เวลารวดเร็ว" และอีกข่าวดี "สามารถทำงานประจำต่อไปด้วย" ^^

MLM Series One : (3) Active Income ออกแรงถึงได้เงิน

Money Loves Me Series One
ตอนที่ 3 : Active Income ออกแรงถึงได้เงิน


ขอแสดงความยินดีครับเมื่ออ่านมาถึงตอนนี้ คุณสามารถมองหาช่องทางเพิ่มกระเป๋าเงินเสริมได้แล้วอย่างน้อยหนึ่งใบ แต่อย่าหยุด ขอให้ตั้งใจมองหากระเป่าใบต่อๆไป แม้มันจะ "ตุง" กว่ากระเป๋าเงินหลักก็ตาม เพราะมีกระเป๋าเสริมสองใบ ย่อมอุ่นใจกว่าใบเดียวอยู่แล้ว

ผมมีอีกมุมมองหนึ่งที่อยากแชร์ครับ ลองมองวิธีที่คุณนำธนบัตรเข้ากระเป๋าเงินทั้งหลักและเสริมเป็นอย่างนี้หรือเปล่า ... "ถ้าหยุดทำงาน เงินจะหยุดตามไปด้วย"

ถ้าเป็นลูกจ้าง ก็ชัดเจน ขาดงานลางานมาสายเกินกำหนด โดนหักเงินแน่ หรือถ้าไม่มีงานให้ทำแล้วเพราะถูกเลย์ออฟ ไล่ออก หรือบริษัทเลิกกิจการ ล้วนเท่ากับสิ้นสุดรายรับหลักจากแหล่งเงินนี้ กรณีรายได้เสริม เงินก็มีโอกาสขาดตอนหรือหยุดไปเลยด้วยหลายเหตุผล เจ็บป่วย มีเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้ทำงานไม่ได้ เช่นกรณีพึ่งพาซัพพลายเออร์ อาจไม่ได้รับสินค้าให้นำไปขายต่อ หรือพิษเศรษฐกิจ ทำให้ลูกค้าหาย กำลังซื้อหด สรุปคืองานที่ทำนั้น หยุดไม่ได้ ยังต้องทำงานไปเรื่อยๆ เพื่อให้เงินเข้าต่อเนื่อง ไม่มีเกษียณแบบข้าราชการ ซึ่งหยุดทำงานยังได้รับเงินบำนาญทุกเดือน

อีกนัยหนึ่ง เป็นรายได้เข้ากระเป๋าเงินด้วยลักษณะ "ต้องออกแรง จึงได้เงิน" ฝรั่งบัญญัติศัพท์วิธีสร้างรายได้แบบนี้ว่า Active Income

จากหนังสือ "เงินสี่ด้าน" (Rich Dad's Cashflow Quadrant) ซึ่งเป็นเล่มที่สองของซีรี่ส์ "พ่อรวยสอนลูก" (Rich Dad Poor Dad) เขียนโดย โรเบิร์ต คิโยซากิ ผู้ท้าทายความคิดเรื่องเงินๆทองๆที่คนส่วนใหญ่ยึดถือมายาวนาน โดยเฉพาะประโยคที่ว่า "บ้านไม่ใช่ทรัพย์สิน แต่เป็นหนี้สิน" แต่อีกด้านหนึ่ง หนังสือเล่มแรกๆของเขาช่วยกระตุ้นให้ผู้คนมากมายฉุกคิดกับมุมมองที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน ซึ่งนำไปสู่อิสรภาพทางการเงิน

เขาชี้ให้เห็นว่า การทำงานเพื่อเงินเดือนสูงๆ ไม่ช่วยให้รวย, เหตุที่คนส่วนใหญ่มีปัญหาทางการเงิน เพราะระบบการศึกษาสอนให้ขยันเรียน ออกไปหางานดีๆกับบริษัทที่มั่นคง หรือทุกวันนี้ เราทำงานเพื่อเงิน โดยไม่รู้ว่าสามารถใช้เงินทำงานแทนเราได้ เป็นต้น

หนังสือเงินสี่ด้านบอกว่า คนส่วนใหญ่ในโลกล้วนกำลังดิ้นรนหาเงินเลี้ยงชีพแบบ Active Income และโรเบิร์ต คิโยซากิ ยังจำแนกคนที่ทำงานหาเงินด้วยวิธีนี้เป็นสองจำพวกใหญ่ๆคือ ลูกจ้าง (Employee) และ เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ (Small Business / Self-employed)

ภาพของกลุ่มแรก (E) นั้นชัดเจน เป็นคนต้องทำงานในวงราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน รวมถึงธุรกิจเล็กๆน้อยๆ แล้วรับเงินเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ หรือรายเดือนก็ว่ากันไป จะมีรายรับหลักพัน หมื่น หรือแสนบาท ยังเข้าข่ายเป็นลูกจ้างอยู่ดี ส่วนอีกกลุ่ม (S) แยกย่อยเป็นสองพวกได้แก่ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ หรือเอาท์ซอร์ชที่รับงานมา (Self-employed) เช่น ทนายความ ช่างซ่อมไฟฟ้า ช่างทำงานฝีมือ นักเขียน นักแปล นักพูด วิทยากร เทรนเนอร์ส่วนตัว ฯลฯ และเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก (Small Business) เช่น ขายของตลาดนัด แผงลอย เจ้าของแฟรนไชส์เล็กๆอย่าง ข้าวมันไก่ ก๋วยเตี๋ยวบะหมี่ ทำกุญแจ ซ่อมนาฬิกา ฯลฯ คนกลุ่มนี้มีธุรกิจเป็นของตัวเองแต่ยังต้องลงมือทำงานเอง ซึ่งรวมถึงเจ้าของธุรกิจใหญ่โตลงทุนหลักล้าน แต่ปล่อยมือไม่ได้ ไว้วางใจใครไม่เป็น ยังต้องเข้าออฟฟิศ ตามเก็บงานทุกเม็ด ก็ยังเป็นเจ้าของธุรกิจที่ "ต้องออกแรง จึงได้เงิน"

ผ่านแล้วสองกลุ่มของเงินสี่ด้าน ยังเหลืออีกสอง สองกลุ่มหลังใช้วิธีสร้างรายได้แบบ Passive Income คือเงินไหลเข้ามาเรื่อยๆ ขณะที่เจ้าตัวไม่เข้าออฟฟิศ ไม่ได้ทำงาน นอนเล่นอยู่ในบ้าน พักผ่อนหย่อนใจที่ต่างจังหวัดต่างประเทศ

มีด้วยหรือ "ไม่ต้องออกแรง ก็ได้เงิน" ... มีซิครับ โรเบิร์ต คิโยซากิ เขียนไว้แล้วในหนังสือเงินสี่ด้าน ซึ่งฉบับภาษาไทย หนาเกือบ 400 หน้า!!!