หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วางแผนชีวิตวัยเกษียณบนกองเงินกองทอง

เคยวาดภาพหรือเปล่าครับ ชีวิตวัยเกษียณของเราจะเป็นอย่างไร ทั้งสภาพของร่างกาย จิตใจ และเงินทอง ใครเตรียมพร้อมล่วงหน้าเป็นสิบๆปี ขอแสดงความยินดีด้วยครับที่จะได้เป็น ท่าน ส.ว. (สูงวัย) ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรง เตะปี๊บดัง จิตใจเบิกบาน ใบหน้าเปื้อนรอยยิ้ม มีเงินทองใช้สอย เอื้อให้ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี

ประเด็นเงินทอง คนไทยสมัยก่อนไม่น่าห่วง กรณีรับราชการ รัฐยังเลี้ยงดูดียามแก่เฒ่าด้วยเงินบำเหน็จบำนาญ ส่วนประชาชนทั่วไป คุณภาพชีวิตไม่เลวร้ายนัก เพราะข้าวของไม่แพง ดอกเบี้ยเงินฝากถือว่าสูง สิ่งฟุ่มเฟือยเย้ายวนใจให้จับจ่ายใช้สอยไม่ค่อยมี ชีวิตอาจไม่สุขีสุโขมาก แต่ไม่ลำบากยากเข็ญ ผิดกับคนสมัยนี้ ถ้าไม่วางแผนการเงินเห็นทีลำบาก หวังลูกหลานเลี้ยงเหมือนรุ่นปู่ย่าตายายของเราเห็นทีจะยาก "ตนเป็นที่พึ่งของตน" ดีที่สุด

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย สัดส่วนการให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) สูงถึง 79 เปอร์เซ็นต์ เขียนให้ชาวบ้านเข้าใจง่ายๆก็คือ คนไทยสมัยนี้กู้ยืมหรือนำเงินนอนาคตมาใช้เพิ่มขึ้น ไม่ใส่ใจความพอเพียงและพิจารณาเหตุผลในการใช้จ่าย

นอกจากยืมเยอะยังเก็บน้อยด้วย เห็นได้จากสัดส่วนการออมต่อรายได้ของครัวเรือนไทย ลดจากร้อยละ 11.3 (ค่าเฉลี่ยระหว่างปี 2533-53) ลงเหลือเพียงร้อยละ 9.2 ในปี 2554 และถ้าดูจากสภาพแวดล้อมสังคมปัจจุบันเชื่อว่าปี 2555 คงต้องลดลงอีก

อีกทั้งยังสอดคล้องกับข้อมูลปี 2555 ของสถาบันวิจัยตลาดทุน ที่พบว่า แรงงานในระบบช่วงอายุ 40-60 ปี ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ออมเงินน้อยจนไม่มีเงินพอที่จะใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีคุณภาพสูงถึง 39 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสาเหตุมาจากภาระค่าใช้จ่ายและหนี้สิน

คนไทยบางส่วนตกอยู่ในสภาพชีวิตแบบนี้เพราะ "นิสัยขาดวินัยทางการเงิน" คือไม่เก็บออม ไม่นำเงินไปลงทุนเพิ่มมูลค่า (ฝากธนาคารกินดอกเบี้ย ถึงน้อยแต่ยังดีกว่าไม่ทำอะไร) และซ้ำร้าย ยังใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัวเกินฐานะจนต้องกู้หนี้ยืมสิน แล้วแบบนี้จะไปเหลืออะไรให้ใช้หลังเกษียณละครับ

ใครที่อยากเสวยสุขบนกองเงินกองทองในวัยที่ไม่มีใครจ้างไม่มีเรี่ยวแรงทำงานประจำได้อีกแล้ว ต้องทำสิ่งตรงข้ามกับนิสัยที่อ้างในย่อหน้าก่อนหน้านี้คือ ใช้จ่ายประหยัดสมฐานะ ใช้จ่ายให้อยู่ในวงเงินที่หามาได้ เก็บออมเงินบางส่วนไว้ แล้วนำไปลงทุนเพิ่มมูลค่า เช่น ฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน ลงทุนในทองคำ กองทุนรวม ตลาดหุ้น อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ

งานเสริมหรืออาชีพสำรอง เป็นอีกวิธีที่จะรับประกันคุณภาพชีวิตที่ดีหลังเกษียณ เปรียบเสมือน "กระเป๋าเงินสำรอง" ที่ไม่เพียงเพิ่มรายได้อีกทางแต่ยังช่วยกระจายความเสี่ยง เป็นหลักประกันถ้าเกิดเหตุไม่คาดฝันกับงานประจำ เช่น ถูกลดเงินเดือน โดนไล่ออก เพราะโลกสมัยนี้เชื่อมต่อถึงกันหมด แม้บริษัทยังดูเข้มแข็งแต่กลับปิดตัวดื้อๆจากผลกระทบของเศรษฐกิจภายในและนอกประเทศ เช่นวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ทำให้หลายคนมองว่า งานที่มั่นคงไม่มีอีกแล้ว ขนาดบริษัทไฟแนนซ์ที่สร้างความมั่งคั่งให้กับเหล่ามนุษย์ทองคำ ยังล่มสลายลงอย่างรวดเร็ว

พิษต้มยำกุ้งของไทยแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจประเทศเดียวส่งผลกระทบไปทั่วโลกรุนแรงขนาดไหน จากนั้นยังมีวิกฤติเศรษฐกิจอีกหลายครั้งที่สร้างความสั่นสะเทือนไปทั่วโลกเช่น ซับไพร์มในอเมริกา วิกฤติเศรษฐกิจในกรีซ กระทั่งเหตุการณ์ที่ไม่ถึงขั้นวิกฤติอย่างปัญหาส่งออกของจีน นโยบายธนาคารกลางสหรัฐ ยังสามารถสร้างความปั่นป่วนให้หลายประเทศได้

แล้วงานอะไรที่จะมาเป็นกระเป๋าเงินสำรองของเรา ?

ถ้าคิดน้อยๆ ก็เอาทักษะความสามารถส่วนตัวที่เก่งอยู่แล้วไปรับจ้างเป็นฟรีแลนซ์หรือเอาท์ซอร์ช เช่น แปลภาษา เขียนโปรแกรม ซ่อมไฟฟ้า ทำงานฝีมือ วาดภาพเหมือนภาพการ์ตูน ฯลฯ หรือคิดการใหญ่ พอมีเงินเก็บไว้ลงทุน ก็สร้างธุรกิจเล็กๆอย่างขายของบนอินเตอร์เน็ต ขายของตลาดนัด แผงลอย ซื้อแฟรนไชส์ข้าวมันไก่ ก๋วยเตี๋ยวบะหมี่ ขายกาแฟ ฯลฯ

แต่ไม่ว่างานมือปืนรับจ้างหรือธุรกิจเล็กๆมีจุดเหมือนกันอย่างหนึ่งคือ "ต้องออกแรง จึงได้เงิน" ทำฟรีแลนซ์หรือเอาท์ซอร์ช ถ้าไม่มีใครจ้าง ก็ไม่มีเงิน ส่วนพวกธุรกิจเล็กๆ อาจเจอสถาวะเงินเข้าสะดุดหรือหยุดไปเลยด้วยหลายเหตุผล เจ็บป่วย ฝนตกพายุเข้า ซัพพลายเออร์เบี้ยวไม่ส่งของ หรือเศรษฐกิจแย่ ทำให้ลูกค้าหาย กำลังซื้อหด สรุปคืองานที่ทำหยุดไม่ได้ ต้องทำงานไปเรื่อยๆ เพื่อให้เงินเข้าต่อเนื่อง

รายได้เข้ากระเป๋าเงินแบบ "ต้องออกแรง จึงได้เงิน" ฝรั่งบัญญัติศัพท์ไว้ว่า Active Income ซึ่งตรงข้ามกับ Passive Income ที่เป็นวิธีสร้างรายได้แบบเงินไหลเข้ามาเรื่อยๆแม้ตัวเองไม่เข้าออฟฟิศ ไม่ทำงาน นอนเล่นอยู่ในบ้าน พักผ่อนหย่อนใจที่ต่างจังหวัดต่างประเทศ

โรเบิร์ต คิโยซากิ เจ้าของหนังสือซีรี่ส์ดัง "พ่อรวยสอนลูก" เขียนไว้ในเล่ม "เงินสี่ด้าน" ว่า มีคนสองจำพวกที่ "ไม่ต้องออกแรง ก็ได้เงิน" คือ เจ้าของธุรกิจ และ นักลงทุน

เราคุ้นเคยกันดีกับเจ้าของธุรกิจ ซึ่งรับรายได้มาจากกิจการของตัวเอง ส่วนนักลงทุน ในอดีตเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับคนทั่วไป แต่ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กระแสลงทุนมาแรง โดยเฉพาะลงทุนในตลาดหุ้นที่เป็นช่วงกระทิง(ขาขึ้น) มีเศรษฐีอายุน้อยเกิดขึ้นมากมาย มีพ็อกเก็ตบุ๊คแนะเล่นหุ้นออกมาไม่ขาดสาย ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า รวมทั้งหนังสือลงทุนรูปแบบอื่นๆ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ กองทุนรวม ทองคำ อสังหาริมทรัพย์

เอ่ยถึงนักธุรกิจ จะเห็นภาพคนที่ใช้เงินลงทุนสูงเป็นหลักล้านบาท มีพนักงานหลักร้อย ต้องทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ ใช้ทักษะความสามารถหลายด้าน ทั้งทางธุรกิจ การตลาด การบริหาร การเงิน ทรัพยากรบุคคล ฯลฯ เห็นแบบนี้แล้ว เจ้าของธุรกิจคงเป็นความฝันเกินเอื้อมสำหรับคนทั่วไปแน่นอน

อย่าเพิ่งล้มความฝันครับเพราะ โรเบิร์ต คิโยซากิ บอกว่า "ยังมีธุรกิจที่ลงทุนต่ำ เสี่ยงน้อย ใช้เวลารวดเร็ว และสามารถทำงานประจำไปด้วย"

ธุรกิจที่ว่าคือ ธุรกิจการตลาดแบบเครือข่าย (Network Marketing Business) เรียกสั้นๆว่า "ธุรกิจเครือข่าย" หรืออีกชื่อหนึ่ง เอ็มแอลเอ็ม (Multi-Level Marketing) ครับ

ลุยศึกษาหาความรู้ธุรกิจเครือข่ายกันอย่างจริงจัง เพื่อวันข้างหน้า เราจะได้มีเงินเข้าแบบ Passive คล้ายกับเงินบำนาญข้าราชการ และที่สำคัญ สามารถเกษียณได้ก่อนอายุ 60 ปีด้วย มีเรี่ยวแรงทำอะไรสนุกๆได้อีกเยอะ

ร่วมเรียนรู้เพื่อ "เปิดโอกาสใหม่ๆให้กับชีวิต"  http://www.elite-powerteam.com/tapana

"เอ็กซ์" ฐปน วันชูเพลา (ผู้เขียน)


และเพื่อมอบกำลังใจอันยิ่งใหญ่ให้กับผู้เขียน ^__^
ถ้าชอบกด Like ถ้าใช่กด Share ถ้าทั้งชอบทั้งใช่ กรุณากดทั้ง Like ทั้ง Share ได้เลยครับ อย่าได้เกรงใจ

ช่องทางติดต่อผู้เขียน …
อีเมล์  tapanaone@gmail.com
เฟซบุ๊ค  https://www.facebook.com/tapana.jcteam
แฟนเพจ  https://www.facebook.com/MLM.MoneyLovesMe
แบ่งปันมุมมอง ประสบการณ์ และโอกาสดี ๆ  http://tapanaone.blogspot.com และ http://www.bangsaensook.com/Business

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น