หน้าเว็บ

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

คนรวยคิดแปลกๆ "ทำธุรกิจสำเร็จแล้ว..แต่ยังไม่เสร็จ" ?!?!

ผิดครับถ้าคิดว่า นักธุรกิจเครือข่ายส่วนใหญ่ย้ายมาจากอาชีพพนักงานขาย และเอ็มแอลเอ็มเป็นงานในฝันของมนุษย์เงินเดือนที่รายรับไม่พอรายจ่าย เพราะคนที่เข้ามาทำธุรกิจนี้มีความหลากหลายมากทั้งสายอาชีพและวัย และเชื่อหรือไม่ คนรวยจากการประกอบธุรกิจก็ร่วมเดินบนถนนเส้นนี้ด้วย พวกเขามองว่า กิจการที่ทำอยู่สำเร็จแต่ไม่เสร็จ ขณะที่เอ็มแอลเอ็มนั้น "สำเร็จและเสร็จ" (แต่ความรวยไม่เสร็จ)

5.4 ล้านคน เป็นตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการของนักธุรกิจเครือข่ายหรือเอ็มแอลเอ็มในเมืองไทย หรือประมาณ 8.1 เปอร์เซนต์ของประชากรทั้งประเทศ (67 ล้านคน) และแนวโน้มยังเพิ่มขึ้นทุกปี เช่นเดียวกับอัตราเติบโตของยอดขายรวมที่เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 5-7 เปอร์เซนต์ โดยเมื่อปี 2555 พวกเขาช่วยกันขายและขยายเครือข่ายได้รวม 8.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีผู้ประเมินว่า ตัวเลขจะแตะหลักแสนล้านบาทแน่นอนเมื่อสิบประเทศกลุ่มเออีซีเปิดประตูเสรีในปี 2558

ผมเคยนึกเล่นๆ (สงสัยตัวเองอยู่เหมือนกันว่า หาประโยชน์อันใดมิทราบ) ว่า ส่วนใหญ่เป็นคนอาชีพไหนที่เปลี่ยนงานเก่ามาทำธุรกิจเครือข่าย?

อาชีพแรกที่ผุดขึ้นมาคือ เซลส์แมนหรือพนักงานขาย เพราะมีทักษะความสามารถและรักงานขายอยู่แล้ว ถ้าเห็นผลตอบแทนจากแผนการตลาดของบริษัทต่างๆ ก็น่าเปลี่ยนมาจับงานขายตรงแบบหลายชั้น ที่ดูได้เงินเป็นกอบเป็นกำ ทั้งจากการหาของตนเอง และจากเปอร์เซนต์ของคนที่อยู่ในสายงานตามลำดับชั้นตาม "หลักคานผ่อนแรง" ของพอล เก็ตตี้ มหาเศรษฐีพันล้านคนแรกของโลก ซึ่งบอกว่า "ผมยินดีรับผลตอบแทนหนึ่งเปอร์เซนต์จากการทำงานของคนร้อยคน มากกว่าได้รับผลตอบแทนร้อยเปอร์เซนต์จากการทำงานของผมเพียงคนเดียว"

ผิดคาดครับหลังจากคุยกับเพื่อนฝูงรุ่นพี่รุ่นน้องที่อยู่ในสายงานขาย แทบทุกคนเซย์โนกับเอ็มแอลเอ็ม เช่น "โอ๊ย! มีคนชวนมาเยอะ แต่ไม่เอาหรอก ขายอย่างทุกวันนี้ก็เงินดีอยู่แล้ว" หรือ "บริษัทพวกนี้จ่ายเงินดีแค่ปีแรกๆแล้วก็ปิดกิจการ" ยกเว้นกลุ่มขายประกัน ที่ใช้ระบบขายตรงแบบเครือข่ายเหมือนกัน จะแบ่งรับแบ่งสู้ ขอพิจารณาเงื่อนไขผลประโยชน์เพื่อเปรียบเทียบกับงานที่ทำอยู่ ส่วนนักขายรุ่นเก่าๆ มักปฏิเสธเพราะมีรายได้ดีอยู่แล้วจากฐานที่สั่งสมมาหลายปี

เหตุผลหลักที่นักขายทั่วไปปฏิเสธน่ามาจากภาพพจน์ที่ไม่ดีออกสีเทาๆไปทางโทนดำของเอ็มแอลเอ็ม กลัวถูกหลอกเลยไม่เอาดีกว่า อีกอย่างงานขายที่ทำอยู่เป็นลักษณะวันแมนโชว์ ไม่ต้องปวดหัวกับทีมงาน ซึ่งแม้มีทีมงาน แต่ก็เป็นกลุ่มเล็กๆหรือถ้าใหญ่จะออกแนวผู้บังคับบัญชาสั่งได้ ต่างกับทีมงานในเอ็มแอลเอ็ม ซึ่งจะประสบความสำเร็จมากขึ้นตามเครือข่ายทีมงานที่ใหญ่ขึ้น ที่สำคัญทุกคนที่อยู่ใต้เรา ต่างมีอิสระ ไม่สามารถสั่งซ้ายหันขวาหัน ผู้นำในวงการนี้จึงต้องมีจิตวิทยาสูง ใช้ทั้งไม้แข็งไม้นวม แถมรับหน้าที่เทรนเนอร์สอนความรู้ทักษะ รวมถึงทัศนคติที่ดีกับงานอีก ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบที่หนัก

แล้วส่วนใหญ่เป็นใครกันที่ก้าวเข้ามาเป็นนักธุรกิจอิสระบนถนนเอ็มแอลเอ็ม คำตอบคือสรุปแบบฟันธงไม่ได้ เพราะหลากหลายสาขาอาชีพมาก ไม่ใช่เพียงพนักงานออฟฟิศพวก white-collar ขนาดแม่ค้าหรือสาวโรงงานยังทำ แถมทำจนมีรายได้เดือนหนึ่งตกหลักหมื่นหลักแสน อายุของคนที่หันมาจับงานนี้ก็หลากหลายด้วย หลายคนยังเรียนในมหาวิทยาลัย หลายคนอยู่ในวัยใกล้เกษียณ บางคนสูงวัยระดับอยู่บ้านเลี้ยงหลานยังมาทำ ทั้งนี้เพราะนักธุรกิจเอ็มแอลเอ็มไม่ต้องทำงานตลอดชีวิต ถ้าทุ่มเทสุดๆสัก 4-6 ปี จนมีรายได้เข้ามาต่อเนื่องถึงตัวเลขที่พอใจ ก็สามารถหยุด หรือทำต่อไปแบบเบาๆได้

อีกประเด็นหนึ่ง ผมมองว่า นักธุรกิจเครือข่ายน่าจะเคยเป็นพวกที่รายรับไม่พอรายจ่าย ไม่ได้หมายความว่าจนนะครับ ฐานะปานกลางหรือมีเงินเดือนหลักหมื่นก็ได้ แต่มีเงินไม่พอซื้อของที่อยากได้ หรือไม่ก็รูดบัตรเครดิตจนต้องเร่งหารายได้เพิ่มเพื่อใช้หนี้

บางคนจริง บางคนไม่ใช่ แต่ค่อนข้างเซอร์ไพรส์คือ คนรวยเป็นถึงเจ้าของธุรกิจก็อยู่ในขบวนนักธุรกิจเครือข่ายด้วย ซึ่งเจ้าของธุรกิจที่ว่านี่ กิจการก็ไปได้ดีค้าขายมีกำไร ไม่ใช่ขาดทุนจนต้องหาเงินทางอื่นมาโป๊ะ และกิจการมีทั้งขนาดกลางถึงใหญ่ทีเดียว (แว่วว่าเจ้าของห้างสรรพสินค้าใหญ่ท่านหนึ่งด้วย)

ถามว่ารวยอยู่แล้ว ทำไมต้องมาขายตรงแบบเครือข่ายที่ผู้คนรู้สึกยี้กัน? คำตอบที่ได้รับคือ

"ธุรกิจสำเร็จ
 แต่ไม่เสร็จ"

"ธุรกิจที่ทำอยู่ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว ฐานะรายได้การเงินก็มั่นคง อนาคตสดใสสามารถเติบโตไปได้เรื่อยๆ แต่งานที่ทำอยู่ทุกวันนี้ มันหยุดไม่ได้ จริงอยู่ที่บริษัทมีผู้จัดการผู้บริหารมาดูแลแบ่งเบาภาระ ลูกหลานสามารถเข้ามารับไม้ต่อได้ แต่มองว่า เป็นงานที่ไม่มีวันเสร็จ ซึ่งในแง่ธุรกิจก็เป็นเรื่องดี ที่มันสามารถเลี้ยงตัวและเติบโตได้เรื่อยๆ ส่วนตัวไม่มีปัญหากับงานหนัก แต่ดีกว่าไหมถ้ามีงานสักอย่างหนึ่ง สามารถประสบความสำเร็จได้ แล้วถ้าหยุดทำ ยังมีเงินเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งคำตอบคือ ธุรกิจเครือข่ายหรือเอ็มแอลเอ็ม ที่ทุ่มเทให้กับมันเพียงไม่กี่ปี จนสามารถสร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ แต่ละคนที่อยู่ในองค์กรล้วนเอาจริงเอาจังกับงานที่ทำ พวกเขามีรายได้น่าพอใจ ซึ่งแน่นอน ทำให้รายได้ของผมเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว จนทุกวันนี้ธุรกิจเดิมไม่มีอะไรน่าห่วงแล้ว รายได้จะเพิ่มจะทรงตัวหรือทรุดลงเล็กน้อย ถ้าเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจ ไม่ใช่เรื่องการบริหาร ถือว่าโอเค เพราะยังมีรายได้เข้ามาอีกทางอย่างต่อเนื่องจากเอ็มแอลเอ็ม"

ฟังแบบนี้ ต้องบอกว่า "ธุรกิจสำเร็จ และรวยไม่เสร็จ" ต่างหาก ^^

<> ขอเชิญทำความรู้จักธุรกิจเครือข่ายได้ที่ http://www.elite-powerteam.com/tapana

<> พบปะแลกเปลี่ยนมุมมองได้ที่ https://www.facebook.com/tapana.jcteam

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น